กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพประจำบ้าน
รหัสโครงการ 64-L3020-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านปลักปรือ
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮานี ปอเปาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่ประเทศไทยมาช้านานซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธ์ุ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือ คาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีนิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลักโดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพซึ่งเน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลภูมิปัญญาและองค์ความรู้ดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้าน ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการรักษาโรค ตลอดจนสังคม วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้และเป็นการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ
        จากการดำเนินงาน ในพื้นที่ ม.1 บ้านปลักชุมแสง ตำบลม่วงเตี้ย ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่าประชาชนวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดข้อ ปวดตึงกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าบางครั้งมีอาการบวมแดงร่วมด้วย มีอาการเจ็บหรือปวด ข้อเข่าผิดรูปหรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติภารกิจประจำวันต่างๆ ทำได้ไม่สะดวกส่งผลให้เกิดความทกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มาก การใช้ข้อเข่ามาก อาจใช้นานกว่าปกติหรือผิดท่าซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคเข่าเสื่อมยังไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจังแม้แต่ตัวผู้ป่วยก็ยังขาดความรู้ในการดูแลตนเองและมักจะหันไปพึ่งยาซึ่งการรับประทานยาเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการข้างเคียงและมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นการบำบัดแบบไม่ใช้ยาหรือการบำบัดด้วยการแพทย์ทางเลือกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการรักษาโรคเข่าเสื่อมโดยจากการดำเนินโครงการสมุนไพรใกล้ตัว ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสุขภาพในปีที่ผ่านมามีประชาชนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้เองในครัวเรือนจึงได้จัดทำโครงการ "ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพประจำบ้าน" ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนม้ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต การใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาทำเป็นยาพอกเข่า ลดอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม รวมทั้งกระตุ้นการดูแลตนเองด้วยสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 19,500.00 1 19,500.00
19 มี.ค. 64 การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 75 19,500.00 19,500.00

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่และสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้ทราบถึงโครงการและชี้แจงแกนนำ ปรึกษาและวางรูปแบบกิจกรรม
2.รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
3.ประสานเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ม่วงเตี้ย ตรวจประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ
4.อบรมให้ความรู้แก่แกนนำและอสม. เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม และการใช้ยาสมุนไพรพอกเข่า
5.แจกจ่ายตัวอย่างพันธุ์สมุนไพรเพื่อปลูกใช้ในครัวเรือน
6.การจัดกิจกรรมการอบรมการบริหารข้อเข่า การถ่ายทอดการเตรียมสมุนไพรเพื่อใช้พอกเข่าด้วยตนเองและสาธิตการพอกเข่าด้วยสมุนไพรด้วยตนเอง โดยแกนนำและ อสม.
7.การติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินอาการ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง
8.การประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
9.ประเมินสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการเปรียบเทียบก่อนและหลังร่วมกิจกรรม สรุปโครงการ
10.รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคข้อเข่ามีอาการปวดเข่าทุเลาลง
2.มีการพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพ มีการใช้สมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ในการดูแลสุขภาพ
3.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคและลดภาระของผู้ดูแลในการไปรักษาในสถานพยาบาล
4.เกิดความร่วมมือที่ดีระหว่างองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกับองค์กรภายนอกภาครัฐและเอกชน เช่น สถานบริการสาธารณสุข เป็นต้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 14:47 น.