กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 1825 วัน สร้างฝันสู่ "เด็กทุ่งพลาสุขภาพดี"
รหัสโครงการ 2564-L2979-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 34,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาลี แวบากา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.641,101.152place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชณาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอม และ เด็กเตี้ย จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดวาระสำคัญที่จะพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ Pattani Smart kids และจัดกิจกรรมเปิดตัว Pattani Smart Kids พร้อมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยได้รับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1,2,3 และ สำนักการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี เพื่อจัดการศึกษาและประสบการณ์การเรียนรู้ สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมส่งเสริมในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เพื่อสร้างเด็กตานี ดี 10 อย่าง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป       ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพลา เห็นความสำคัญในการส่งเสริมโภชนาการ และพัฒนาการในเด็กอายุ 0–5 ปี จึงได้จัดทำโครงการ1825 วัน สร้างฝันสู่ “เด็กทุ่งพลาสุขภาพดี ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยมีสุขภาพสมบูรณ์ปลอดภัย คุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย และเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดีตามแนวทางโครงการ 1,000 วัน สร้างฝันสู่ “ปัตตานีสมาร์ทคิดส์”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ แกนนำและกลุ่มจิตอาสา มีความรู้และความสามารถในการเฝ้าระวังประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัย
  1. แกนนำและกลุ่มจิตอาสา มีความรู้และความสามารถในการเฝ้าระวังประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อเส่งเสริมให้ ผู้ดูแลมีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมบริโภตอาหารของเด็ก และสามารถเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  1. ผู้ดูแลมีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรม บริโภคอาหารของเด็ก และสามารถเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ร้อยละ 70
0.00
3 3.เพื่อให้เด็กได้รับการประเมินภาวะโภชนาการและได้รับอาหารที่มี ประโยชน์

3.เด็กได้รับการประเมินภาวะโภชนาการและได้รับอาหารที่มี ประโยชน์ร้อยละ90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 เก็บรวบรวมข้อมูลภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบ
3.2 วิเคราะห์ปัญหาจัดทำโครงการเพื่อเสนองบประมาณและขออนุมัติโครงการ 3.3 เตรียมเอกสารให้ความรู้และจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์
3.4 ประสานงานติดต่อวิทยากร 3.5 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและฝึกทักษะการประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการ แก่ผู้ปกครองเด็ก และอสม. 3.6 กิจกรรมติดตามให้ความรู้ในการประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 3.7 อสม.ในแต่ละหมู่บ้านติดตามชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและสาธิตอาหารในชุมชน 3.8 กิจกรรมประกวดเด็กสุขภาพดี ศรีแห่งตำบลทุ่งพลา 3.9 ไวนิลสื่อความรู้การประเมินพัฒนาการ โภชนาการ ตามวัยอายุ 9 18 30 42 และ 60 เดือน
จำนวน 5 แผ่น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

•      1. แกนนำและกลุ่มจิตอาสาสามารถประเมินภาวะโภชนาการและเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้ถูกต้อง ร้อยละ 80
•      2.เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการและเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ ร้อยละ 80 3.เด็ก อายุ 0 – 5 ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลติดตาม
ร้อยละ95 4.เด็ก อายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย และเด็กได้รับการตรวจพัฒนาการตามช่วงวัย ร้อยละ95

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563 20:55 น.