กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนวัดนาวง
รหัสโครงการ 64-L7931-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดนาวง
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 36,928.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางสุดคนึง อาจชอบการ ผอ.โรงเรียนวัดนาวง 2.นางพิไลพร กิตติคุณ ครูโรงเรียนวัดนาวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.761017141,99.51451581place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 151 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า
  โรงเรียนวัดนาวง ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนวัดนาวงขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพองค์รวมได้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรม การออกกำลังกาย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันโรคติดต่อ (โควิด 19) การดูแลสุขภาพช่องปาก การดูแลรักษาหนังศีรษะ(กำจัดเหา) ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพดี มีความพร้อมในการเรียนหนังสือ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ตลอดจนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะดำเนินงานเพื่อวางแผนและกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการ     2. นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากผู้อำนวยการสถานศึกษา     3. จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
        4. ประสานงานกับคณะดำเนินงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ และขอความร่วมมือในการดำเนินการและประชาสัมพันธ์โครงการกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
        5. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยจัดเตรียมป้ายโครงการ
        6. ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนด
          6.1 สำรวจข้อมูลสุขภาพนักเรียน (ภาวะโภชนาการ สำรวจนักเรียนที่เป็นเหา)       6.2 ทดสอบสมรรถนะร่างกายนักเรียน       6.3 กิจกรรมที่ 1 การออกกำลังกายคีตะมวยไทย โดยเชิญวิทยากรให้ความรู้และให้ฝึกปฏิบัติ จัด Sport day หน้าเสาธง สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ และเชิญวิทยากรนำออกกำลังกายคีตะมวยไทย เดือนละ 1 ครั้ง       6.4 กิจกรรมที่ 2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (การทำแผล การประคบร้อนประคบเย็น การปฏิบัติหลังโดนแมลงกัดต่อยหรือสัตว์มีพิษกัด) โดยเชิญครูเป็นวิทยากรให้ความรู้สาธิตฝึกปฏิบัติ และตอบคำถามท้ายกิจกรรม       6.5 กิจกรรมที่ 3 การป้องกันโรคติดต่อโควิด 2019 โดยเชิญครูเป็นวิทยากรให้ความรู้ สาธิต ฝึกปฏิบัติ และตอบคำถามท้ายกิจกรรม       6.6 กิจกรรมที่ 4 การดูแลสุขภาพช่องปาก โดยเชิญครูเป็นวิทยากรให้ความรู้การแปรงฟันที่ถูกวิธี ตอบคำถามท้ายกิจกรรม       6.7 กิจกรรมที่ 5 การดูแลรักษาหนังศีรษะ (กำจัดเหา) จำนวนนักเรียนที่เป็นเหา 79 คน โดยเชิญครูเป็นวิทยากรให้ความรู้ สาธิต การกำจัดเหาและกำหนดให้มีการดูแลรักษาหนังศีรษะ (กำจัดเหา) ระยะที่ 1 สัปดาห์ที่ 1-2 เดือนมิถุนายน ระยะที่ 2 สัปดาห์ที่ 1-2 เดือนกันยายน โดยมีการติดตามผลการกำจัดเหาทุกครั้งครูประจำชั้นตรวจบันทึกการเป็นเหาทุกสัปดาห์ โดยเน้นย้ำให้นักเรียนรักษาความสะอาด สระผมบ่อยๆ หรือเมื่อกลับมาเป็นเหาอีกต้องหวีผมกำจัดเหาทุกวัน     7. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ
          7.1 ประเมินผลการดำเนินการ
          7.2 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
          7.3 นำเสนอผลการดำเนินงานต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาและหน่วยงานเทศบาลนาวง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง     2. นักเรียนปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เมื่อตนเองหรือบุคคลอื่นโดนสัตว์มีพิษกัดต่อย     3. นักเรียนปลอดภัยจากโรคติดต่อโควิด 2019     4. นักเรียนมีสุขภาพฟันแข็งแรง     5. จำนวนนักเรียนที่เป็นเหาลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 09:20 น.