กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64- L1496 – 02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ต.นาพละ
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 1,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารี สีนา ประธาน อสม. ตำบลนาพละ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลักเพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพ จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและทกรกจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลงานอนามัยและเด็กตำบลนาพละ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พ่อแม่มือใหม่ยังขาดความรู้และทักษะอนามัยแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ทารกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม และพฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดภาวะปัญหาทารกน้ำหนักน้อย การตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ ฝากครรภ์คุณภาพ (ฝากประจำได้นม) โดยมีการให้ความรู้ คำแนะนำและทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ หลังคลอด ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ พร้อมกับมีการมอบนมและไข่ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ไปรับประทานในระยะตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด เพราะเป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าประโยชน์ของไข่ไก่ที่หญิงตั้งครรภ์ควรได้รีบสามารถช่วยเพิ่มน้ำหนักของทารกในครรภ์ และมีสารอาหารที่ครบถ้วนโดยเฉพาะ ไข่ขาวจะมีโปรตีนสูง และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ส่วนในไข่แดงจะมีสารอาหารหลายชนิด ได้แก่โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ ไขมันในไข่แดงส่วนใหญ่จะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว รวมถึง omega-3 ส่วนประโยชน์ของนมที่หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับเพื่อไปใช้เพิ่มแคลเซียมในช่วงตั้งครรภ์เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ต้องการแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าปกติหลายเท่าเพราะทารกในครรภ์ จะดึงแคลเซียมในร่างกายของแม่ไปสร้างเนื้อเยื่อ เส้นใยประสาท กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกระดูกและฟัน ซึ่งจะเริ่มสร้างตั้งแต่ทารกในครรภ์อายุได้ 3 เดือน จึงจำเป็นที่แม่จะต้องรับสารอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพิ่มกว่าปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (จำนวน 20 คน) 2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ (จำนวน 20 คน) 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองขณะต้องครรภ์ (จำนวน 20 คน)
  1. ร้อยละ 85 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  2. ร้อยละ 90 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์
  3. ร้อยละ 90 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้อยู่ในระดับดีในการดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์
  4. ไม่เกินร้อยละ 10 อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (Hct<33%)
  5. ไม่เกินร้อยละ 7 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแผนงานโครงการและขออนุมัติ 1.2 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน 1.3 จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ในการให้บริการ
  2. ขั้นตอนดำเนินการโครงการ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมาย 2.2 ให้ความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และเตรียมตัวเพื่อการคลอดอย่างไรให้เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารก โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก 2.3 มอบไข่ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ในแต่ละครั้งโดยจะมอบไข่วันละ 1 ฟองในช่วงสัปดาห์ที่ 12 – 40 สัปดาห์ (200 วัน)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเป้าหมาย เกิดความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเองและทารกในครรภ์ ตลอดจนรู้และทราบถึงปัญหาสุขภาพและยินดีเข้าสู่กระบวนการดูแลในระยะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อตนเองและทารกในครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 09:59 น.