กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกรณีเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาดฉุกเฉินในพื้นที่
รหัสโครงการ 64 – L5246 – 5 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6956 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท. ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10 (๕) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ซึ่งปัจจุบันปัญหาสาธารณภัย ภัยพิบัติ ได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง ภาวะฝนแล้งฝนทิ้งช่วง ฯลฯ เกิดขึ้นมากมายได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย และยังพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ มีเพิ่มขึ้น เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ มือเท้าปาก ฯลฯ ทั้งนี้สาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้วยประชากรและพฤติกรรมมนุษย์ การเดินทางเคลื่อนย้ายของประชากร การเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อโรค ภาวะโลกร้อนทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปได้รวดเร็วและกว้างขวาง และที่พบบ่อยทุกปี คือ ปัญหาหมอกควันจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โดยเฉพาะการเกิดอุทกภัย และผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการฯ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น จึงได้ดำเนินโครงการกรณีเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาดฉุกเฉินในพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาด หรือภัยพิบัติในพื้นที่ อันจะสามารถช่วยลดความรุนแรง ความสูญเสีย ที่อาจจะเกิดจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันท่วงที ป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อลดผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ด้านสาธารณสุข โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯในการดำเนินโครงการดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ตำบล เพื่อให้การแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง

ประชาชนในตำบลท่าโพธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉิน ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนในระหว่างและหลังสถานการณ์ตามความจำเป็นและเหมาะสมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับผลกระทบในเขตตำบลท่าโพธิ์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 6956 100,000.00 1 100,000.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์แนวทางในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่างๆ 6,956 0.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับพนักงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ผู้ปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคและชุมชน 0 100,000.00 100,000.00
  1. คณะกรรมการกองทุน อนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณกองทุนฯ 5-10 % หรือมากกว่า เพื่อรับมือภัยพิบัติ
  2. เขียนโครงการขอรับสนับสนุนงบประมาณ
  3. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
  4. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ดำเนินการตามโครงการ
  6. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
  3. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 14:06 น.