พัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย ประจำปี 2564 (Street Food Good Health) ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
ชื่อโครงการ | พัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย ประจำปี 2564 (Street Food Good Health) ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 |
รหัสโครงการ | 64-L7258-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 17 พฤศจิกายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 122,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุกัญดา เหมืองทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ มาตรการหนึ่งในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ คือ ควบคุมดูแลสถานประกอบการด้านอาหารให้ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสถานประกอบการด้านอาหารประเภทแผงลอยจำหน่ายอาหาร เนื่องจากปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารจากแหล่งจำหน่ายอาหารนอกบ้านมากกว่าการประกอบอาหารและปรุงเองที่บ้าน อาหารริมทางหรืออาหารริมบาทวิถีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนนิยมบริโภค การจำหน่ายอาหารบนบาทวิถีบางจุดเป็นสถานที่ที่มีควันรถฝุ่นละอองจากถนน การเตรียม การปรุงและประกอบอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่มีที่กำบังเพียงพอทำให้อาหารในร้านเสี่ยงต่อการปนเปื้อนฝุ่นหรือควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการก่อให้เกิดโรค เกิดการเจ็บป่วย เกิดการสะสมสารพิษ และเกิดอันตรายต่างๆต่อร่างกาย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสังคมของผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ ในการเร่งรัดพัฒนาตลาดสด หาบเร่ แผงลอยและสถานประกอบการด้านอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ทั้งด้านสถานที่และด้านสุขาภิบาลอาหารเพื่อให้ผู้อุปโภค บริโภค ได้อาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัยและปลอดภัยจากสารพิษ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดหน้าที่ของเทศบาลนคร ตามมาตรา ๕๖(๔) การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพและสถานบริการอื่น ตลอดจนถึงส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ปรุงอาหารที่สะอาด ปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอาหารริมบาทวิถีตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ยังเป็นหนึ่งในเป้าหมายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในการเดินทางมาบริโภค ซึ่งแต่ละพื้นที่มีวัฒนธรรม ของอาหารที่แตกต่างกัน เมืองหาดใหญ่เป็นเมืองหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าและการบริการที่สำคัญของภาคใต้ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในหลากหลายด้านโดยเฉพาะชื่อเสียงด้านอาหารไทยและสถานประกอบการด้านอาหาร ที่มีอยู่จำนวนมากในเมืองหาดใหญ่ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและพำนัก ในเมืองหาดใหญ่ ฉะนั้นความปลอดภัยของอาหาร จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐจะต้องดูแลและให้ความสำคัญ ในการตรวจสอบ แนะนำ ควบคุมและกำกับ ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารมีการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคที่จะได้รับอาหารที่สะอาดและปลอดภัย
จุดจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีที่นักท่องเที่ยวและประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ให้ความสนใจ ได้แก่ ถนนเสน่หานุสรณ์ ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ ถนนสามชัย ถนนภาสว่างถนน ป.ณัฐพลและถนนศุภสารรังสรรค์ เป็นต้น เป็นถนนสายที่มีสถานประกอบการทั้งร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นเส้นทางซึ่งในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาใช้บริการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญในการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร ยกระดับอาหารริมบาทวิถีให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นต้นแบบพื้นที่ดำเนินการอาหารริมบาทวิถีสร้างเสริมสุขภาพ ที่เน้นส่งเสริมอาหารปลอดภัยและผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี ตลอดจนถึงอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทโดยตรง ในการเลือกวัตถุดิบที่สะอาดปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ มาปรุง-ประกอบอาหารให้ผู้บริโภคได้รับประทานและพัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารของตนให้ได้มาตรฐานถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะอนามัยและปลอดภัยจากสารพิษ
สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม จึงขอเสนอโครงการพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย (Street Food Good Health) เพื่อดำเนินงานพัฒนาสุขาภิบาลอาหาร สร้างพื้นที่ต้นแบบ และยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารให้มีความเป็นมืออาชีพ ช่วยให้ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการมั่นใจว่าจะได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาสถานที่เตรียม ปรุงและจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ถนนเสน่หานุสรณ์ ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1 ถนนภาสว่าง ถนนสามชัยถนน ป.ณัฐพลและถนนศุภสารรังสรรค์ ให้ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขและเป็นต้นแบบถนนสายอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย จำนวนสถานที่จำหน่ายอาหารริมบาทวิถีที่เข้าร่วมโครงการผ่านการประเมินตามข้อกำหนดมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข อย่างน้อยร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหารและประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร โดยมีผู้เข้าอบรมและผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย |
0.00 | |
3 | สถานที่เตรียม ปรุงและจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ถนนเสน่หานุสรณ์ ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1 ถนนเสน่หานุสรณ์ ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1 ถนนภาสว่าง ถนนสามชัยถนน ป.ณัฐพลและถนนศุภสารรังสรรค์ ไม่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ทุกร้าน (100%) ใช้ภาชนะทดแทนโฟมหรือภาชนะที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบและอนุมัติ
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์งานด้านสุขาภิบาลอาหารและรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมและพลาสติก ชนิด โพลีสไตรีน (Polystyrene) ในการบรรจุอาหาร
- ตรวจแนะนำสถานที่จำหน่ายอาหารริมบาทวิถี เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อาทิเช่น ถนนเสน่หานุสรณ์ ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ ถนนภาสว่าง ถนนสามชัยและถนน ป.ณัฐพล เป็นต้น จัดอบรมผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
- ตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายอาหารริมบาทวิถี หลังเข้าอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียจากตัวอย่างอาหาร มือผู้สัมผัสอาหาร และภาชนะอุปกรณ์
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านงานสุขาภิบาลอาหารผ่านทางวารสาร รายการวิทยุและเวปไซต์ ของเทศบาลนครหาดใหญ่
- สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงาน
- มีต้นแบบอาหารริมบาทวิถีปลอดภัยในชุมชน
- มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่ยกระดับได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์การประเมินของกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น
- ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร
- มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขาภิบาลอาหารอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 14:50 น.