กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

ป้องกันการติดสารเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันการติดสารเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
รหัสโครงการ 64-L7258-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 370,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุลจิรา ธีรชิตกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด เกิดขึ้นในประเทศไทยมาช้านาน โดยสภาพปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน เด็กและเยาวชนเริ่มใช้ยาเสพติดมีอายุน้อยลง การบำบัดรักษายาเสพติด แม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลงแต่กลับพบว่าผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดเป็นเยาวชนอายุระหว่าง ๑๕ – ๒๔ ปี มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ ๕๐ (ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสุขภาพจิต,๒๕๕๙) ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่น่าเป็นกังวลคือ การใช้ยาเสพติดมากกว่า ๑ ชนิดร่วมกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การบำบัดรักษามีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่าเด็กและเยาวชนมีการนำสารต่างๆ ที่หาได้อย่างมาผสมกันเพื่อให้ออกฤทธิ์เหมือนสารเสพติด ซึ่งเด็กและเยาวชนมีการทดลองดื่มสารเหล่านี้เนื่องจากมองว่าเกิดจากส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นอันตราย โดยที่ไม่ได้คำนึงว่ามีฤทธิ์เสพติด ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต และยังส่งผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ปลอดภัยนำไปสู่ปัญหาเรื่องโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร จากข้อมูลผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ พบว่ามีอายุระหว่าง ๑๕ – ๒๔ ปี ร้อยละ ๔๕ ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทั้งหมดทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบว่าการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มวัยรุ่น สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันที่เกิดจากการใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้เวลาว่างไม่เหมาะสม สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการติดเชื้อเอชไอวีของวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งกระแสสังคม วัตถุนิยมตะวันตก โดยเฉพาะอิทธิพลของสื่อต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีการดำเนินชีวิต ความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมการแสดงออกโดยเฉพาะพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อป้องกันการติดสารเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้วัยรุ่นทั้งชายและหญิง ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติดต่าง ๆ โดยให้เข้าใจถึงผลเสียของการเสพสิ่งเหล่านั้น และ มีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสารเสพติด

1.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้เรื่องโทษของยาเสพติด 2.  กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๙๐ มีทักษะในการป้องกันตนเองจากการยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด

0.00
2 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคเอดส์ที่ถูกต้อง และมีทักษะในการป้องกันตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยง พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีทักษะในการ ป้องกันการติดเชื้อ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์

0.00
3 การสร้างการยอมรับ และอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ได้ อย่างถูกต้อง และลดการตีตรา

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้ ความเข้าใจ ยอมรับ และอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ได้อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับสร้างการยอมรับผู้ป่วยเอดส์ในชุมชนของตนเองได้

0.00
4 เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ และทักษะในการ ป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย

๑.  กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๙๐ มีความตระหนัก และมีทักษะในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ๒.  กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

0.00
5 เสริมสร้างความรักความสามัคคี และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๙๐ สามารถบริหารจัดการเวลาว่างของตนเองให้เกิดประโยชน์โดยเลือกทำกิจกรรมตามความชอบได้อย่างเหมาะสม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมคณะทำงาน
๒. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกิจกรรมในการดำเนินการ
๓. แจ้งรายละเอียดโครงการแก่ทางโรงเรียนและต้องคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
๔. ประสานทีมวิทยากรจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
๕. ประชุมตัวแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแจ้งรายละเอียดและเตรียมความพร้อม
๖. ประสาน เรื่องอาคาร สถานที่ ในการจัดกิจกรรม
๗. ประสานสถานที่ศึกษาดูงาน (ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดสงขลา)
๘. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ

๙. ดำเนินกิจกรรม

๑๐. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมีทักษะในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากปัญหาดังกล่าว
๒. กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และทักษะในการถ่ายทอดความรู้และประชาสัมพันธ์ เรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มเยาวชนในโรงเรียนที่สังกัดและในชุมชนของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 15:14 น.