กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการหญิงวัยเจริญพันธ์ร่วมกันต้านมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงวัยเจริญพันธ์ร่วมกันต้านมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64L70080110
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู
วันที่อนุมัติ 9 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มกราคม 2564 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,549.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอามีหน๊ะ มะดีเยาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพจิตร บุญทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศ การทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องจะสามารถควบคุมการดำเนินของโรคได้ซึ่งการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองจะสามารถค้นหาความผิดปกติได้อย่างรวดเร็วส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear มีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ 80ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด
ในเขตเทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีพบผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก จำนวน 3 ราย (ข้อมูล ณ ปี 2563)คิดเป็นร้อยละ0.13ของจำนวนประชากรกลุ่มอายุ 30 – 60 ปีซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมต้องมีการค้นหา โดย การตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่ อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู มีความตระหนักและเห็นถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้นเพื่อลดอัตราการเกิดโรค โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปี ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 70 มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 20 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

0.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 70 สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 420 55,549.00 2 55,549.00
19 - 20 ม.ค. 64 กิจกรรมที่1 การให้ความรู้มะเร็งปากมดลูกและเต้านม และฝึกทักษะตรวจเต้านมด้วยตนเอง 220 20,550.00 20,550.00
19 - 20 ม.ค. 64 2. กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย 200 34,999.00 34,999.00
  1. ประชุมชี้แจงโครงการ/กิจกรรม แก่ทีม PAP โซน และผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. สำรวจ จัดทำทะเบียนกลุ่มสตรีอายุ 30 –60 ปี
  4. กิจกรรม อบรมให้ความรู้ โดยมีเนื้อหาดังนี้

- ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - การตรวจ ค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง - ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง   5. กิจกรรม ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย
– ประสานทีม PAP เพื่อขอสนับสนุนบุคลากร,อุปกรณ์,สถานที่และออกตรวจนอกสถานที่ ในชุมชน
- ออกติดตามเชิงรุก ค้นหากลุ่มเป้าหมาย โดย อสม. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนผ้าถุง ที่เตรียมไว้     6. ประเมินผลการดำเนินงาน โดย - แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมฯ - ทะเบียนการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก - แบบประเมินทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง     7. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และได้รับการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 09:44 น.