พิชิตอ้วน พิชิตพุง ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
ชื่อโครงการ | พิชิตอ้วน พิชิตพุง ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 |
รหัสโครงการ | 64-L7258-1-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ฝ่ายบริการสาธารณสุข |
วันที่อนุมัติ | 17 พฤศจิกายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2563 - 15 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 125,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายณตฤณ เพ็ชรมี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันระบบริการสุขภาพมีความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสาร มากขึ้น ส่งผลให้การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีราคาแพงมากมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างแพร่หลาย แต่ในมุมกลับ ประชาชนยังคงเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับ ประเทศชาติอย่างมาก จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของ ประขาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการ เปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน การบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหว ร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดจากสภาวะต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการ เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุ การนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ภาวะอ้วนหรือโรคอ้วน มีโอกาสเกิดขึ้นกับบุคคลได้ทุกคน ในปัจจุบันยังไม่สามารถบ่งชี้ปัจจัยเสียงที่ แท้จริงของการเกิดภาวะอ้วนได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะอ้วน ได้แก่ การรับประทาน อาหารที่มีไขมันสูง มีพลังานสูง วิถีชีวิต นั่งๆ นอน ๆ ขาดกิจกรรมทางกาย ประวัติความอ้วนในครอบครัว อายุที่มาก ขึ้น รวมทั้งการสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการสำรวจข้อมูลภาวะสุขภาพของพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้าง สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ เดือนกันยายน 2563 จำนวน ๕๘๐ คน พบว่า เพศชาย 386 คน คิดเป็นร้อยละ 66.55 เพศหญิง 194 คน คิดเป็นร้อยละ 33.55 พนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างที่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ปกติ จำนวน 214 คน คิดเป็นร้อยละ 36.90 แบ่งเป็น น้ำหนักเกิน (BMI 23.0-24.9 kg/m2)มีจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 29.91 ภาวะอ้วน (BMI 25.0 - 30 kg/m2) มีจำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 36.45 และมีภาวะอ้วนมาก (BMI ขึ้นไป) มีจำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 33.64 นอกจากนี้ยังพบว่า พนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างที่มีรอบ เอวเกิดเกณฑ์ปกติ (รอบเอวปกติคือ ผู้หญิงน้อยกว่า ๘๐ ซม./ผู้ชาย น้อยกว่า ๙๐ ชม) เพศชาย 116 คน คิดเป็นร้อยละ 30.5 ของเพศชายทั้งหมด และเพศหญิง ๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๕๒ ของเพศหญิงทั้งหมด ฝ่ายบริการสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญใน การส่งเสริมสุขภาพของพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้าง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง สามารถป้องกันและลดความเสียง ต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมได้ จึงได้จัดทำโครงการพิชิตอ้วน พิชิตพุง เทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปื ๒๕๖๔ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเทศบาลและพนักงานจ้าง เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ ที่เหมาะสม กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 9๐ |
0.00 | |
2 | เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบไร้พุง 1.กลุ่มเป้าหมายที่มีรอบเอวเท่าเดิมหรือลดลง ร้อยละ ๕๐ 2.กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการกิน การออกกำลังกายและอารมณ์หลังเข้าร่วมโครงการผ่านเกณฑ์ในระดับดีร้อยละ ๖๐ |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่
- สำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างสำนักการสาธารณสุข ฯ ทุกคน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว สำรวจพฤติกรรมสุขภาพ
- จัดอบมเชิงปฏิบัติการ เรื่องพฤติกรรมเพื่อพิชิตอ้วน พิชิตพุงสำหรับพนักงาน
- ติดตามน้ำหนัก รอบเอว ทุกเดือนและประเมินผล
- สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการด้วยการกำหนดรางวัลสำหรับสมาชิกทุกทนที่สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาล หรือ ความดันโลหิตสูง หรือ น้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดได้
- จัดกิจกรรมการออกกำลังกายให้กับสมาชิกโครงการ ๒ วันต่อสัปดาห์ ด้วยการเต้นแอโรบิค ทุกวันพุธ และ เวลา 15.30 - 16.30 น. ณ ลานต้นจำปี เทศบาลนครหาดใหญ่
- สรุปผลการดำเนินโครงการ
๑. พนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างสังกัดสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมมีความตื่นตัวในการสร้างเสริม สุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอ้วน ลดพุง ๒. เป็นแบบอย่างที่ดีในการด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่ครอบครัวและชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 10:42 น.