กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รหัสโครงการ 64-L8402-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกอบ จันทสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยสถานการณ์ในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2563 ซึ่งมีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 6,020 คน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 110 คน ผู้ป่วยรุนแรง จำนวน 5 คน และผู้ที่เสียชีวิต จำนวน 60 คน ผู้ป่วยยืนยันกลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศและกักกันในพื้นที่ที่รัฐกำหนด ผู้ป่วยยอดสะสม จำนวน 1,427 คน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 16 คน และผู้ที่เสียชีวิต 2 คน ทั้งนี้ยังมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังยอดสะสม จำนวน 594,323 คน และรายใหม่ 7,261 คน (กรมควบคุมโรค) และขณะนี้พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพิ่มผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างรวดเร็ว โดยสถานการณ์ในจังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2563 พบว่า มีการตรวจหาเชื้อจำนวน 11 ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ในวันที่ 28 ธันวาคม 2563 จำนวน 0 ราย และผลการตรวจคัดกรองตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 จนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2563 มีการตรวจคัดกรองทั้งสิ้น 578 ราย พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา จำนวน 2 ราย (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา/สงขลา COVID-19) ประกอบกับหนังสือจังหวัดสงขลา ที่ สข 0023.3/ว 8385 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 เรื่อง ขอความร่วมมือเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยขอให้ดำเนินการตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักใน การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลคูหาใต้ นั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ ได้รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลตำบลคูหาใต้

ประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลตำบลคูหาใต้ มีความตระหนักในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

80.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

100.00
3 เพื่อป้องกันการระบาดโรคในพื้นที่จุดเสี่ยงในเขตพื้นที่ตำบลคูหาใต้

ป้องกันการระบาดโรคในพื้นที่จุดเสี่ยงในเขตพื้นที่ตำบลคูหาใต้

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
10 มี.ค. 64 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์สร้างความตระหนักในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) 0 7,776.00 -
10 มี.ค. 64 การป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 22,224.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้ 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ 2. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-1๙) เพื่อสนับสนุนวัสดุในการดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่
  3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
4. ดำเนินการค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ โดยดำเนินการร่วมกับผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเจ้าหน้าที่เทศบาล เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค 5. ลงพื้นที่ดำเนินการพ่นย่าฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงเขตตำบลคูหาใต้ 6. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 7. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
  2. ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลคูหาใต้ ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 11:56 น.