กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการจมน้ำในเด็กนักเรียน ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
รหัสโครงการ 64-L7258-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายบริการสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 143,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณตฤณ เพ็ชรมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำในประเทศไทย รายงานการจมน้ำระดับโลก(Global Report on Drowning) ขององค์กรอนามัยโลก พบว่าทุกปีมีด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ ๑๔๐,๒๑๙ คน โดยเสียชีวิตเป็นอันดับ ๓ รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเอดส์ ประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันตับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำว่า ๑๕ ปีในทุก ๆ วันจะมีเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ) จมน้ำเสียชีวิต ๒ คน จากข้อมูลเหตุการณ์เด็กจมน้ำช่วงปิดเทอม (มีนาคม-พฤษภาคม) พบว่ร้อยละ ๘๐.4 ของเด็กที่จมน้ำ ส่วนใหญ่ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและไม่รู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จากข้อมูลการเฝ้าระวังของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ที่ ๑๒ จังหวัดสขลา การจมน้ำของเด็กในเขต 12 พบว่าพื้นที่เสี่ยงมาก อยู่ในจังหวัดสตูล และปัตตานี พื้นที่เสียงปานกลาง ได้แก่ จังหวัดสงขลาและนราธิวาส ส่วนพื้นที่ส่วนพื้นที่เสียงน้อย ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุงและยะลา ช่วงระยะเวลาที่ต้องเฝ้าระวังการจมน้ำ คือการจมน้ำ คือในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม - เมษายน สาเหตุการเสียชีวิตมาจากการจมน้ำเป็นเวลานาน ณ จุดเกิดเหตุ และการไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องทันเวลา พบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน ๔๕ คน เพศชายสูงกว่าเพศหญิง สถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เกิดในคลอง แม่น้ำ แอ่งน้ำ น้ำตก รองลงมาเป็นคลองชุด ร่องขุด คลองชลประทานฝ่ายกั้นน้ำ และทะเล เด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลาย ๆ คน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จึงมักจะกระโดด ลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งเด็กที่ประสบเหตุและผู้ที่ให้การช่วยเหลือและจากการศึกษาของสำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี สามารถว่ายน้ำได้มีร้อยละ 23.7 และสามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ โดยมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด และทักษะการช่วยหลือ มีเพียร้อยละ ๔.๔ ทั้งนี้ เด็กที่เรียนหลักสูตว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำมากกว่าคนที่ไม่ได้เรียน สิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้เด็กไทยรอดจากการจมน้ำในเบื้องต้นได้ ก้คือการลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด สำนักโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการจมน้ำพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเด็กซึ่งปัจจัยหลักในการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากการจมน้ำคือการเรียนรู้ทักษะการป้องกันการใช้อุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือเด็กตกน้ำเท่าที่หาได้ในท้องถิ่นให้ใกล้แหล่งน้ำ และการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องก่อนส่งตัวเด็กไปให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วการเสียชีวิตของเด็กเด็กอันดับหนึ่งมาจากการจมน้ำขอแค่จมน้ำเกิน 4 นาทีทำให้ขาดอากาศหายใจทำให้สมองตายก่อนเป็นอันดับแรก ในการนี้ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ จึงได้จัดโครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการจมน้ำในเด็กนักเรียน ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนและสถานศึษา มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำมีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในบื้องตัน เพื่อลดการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากการจมน้ำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก เยาวชน ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีทักษะในการลอยตัวและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมนํ้าได้

ผู้เข้ารับการอบรมฝึกผ่านการประเมินทักษะการฝึกปฏิบัติ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 เพื่อลดอัตราการสูญเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็ก ในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าร่วมกิกรรมการอบรมไม่น้อยกว่า ๘๐

0.00
3 เพื่อให้เด็ก เยาวชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการหยิบ ยื่น โยนวัสดุใกล้ตัวอย่างถูกต้อง

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงครูและผู้ปกครองนักเรียนและเยาวชน พร้อมสำรวจพื้นที่แหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชน/สถานศึกษา 2.สำรวจเด็กและยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่ขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ว่ายน้ำไม่ป็น พอเป็น เล็กน้อย หรือว่ายไม่ถูกวิธี เข้าร่วมกิจกรรม 3.จัดทำและขออนุมัติโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
  4. ประสานวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง
  6. อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายน้ำเพื่อสุขภาพ (ฝึกการลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด)
  7. ประเมินผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อลดปัญหาเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ
  2. เพื่อให้เด็กมีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาล
  3. เพื่อให้เด็กและยาวชนในจังหวัดสขลามีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ การเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 13:39 น.