เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
ชื่อโครงการ | เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 |
รหัสโครงการ | 64-L7258-1-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ฝ่ายบริการสาธารณสุข |
วันที่อนุมัติ | 17 พฤศจิกายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2563 - 15 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 100,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายณตฤณ เพ็ชรมี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
องค์การอนามัยโลกและประทศไทยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบสุขภาพ เป้าหมายสูงสุดของการสร้าง เสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค คือ "การที่ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา"การ เปลี่ยนแปลงภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์ ส่งผลต่อสภาพสังคมและชีวิตของคนไทยในปัจจุบันและอนาคตหลายประการ ในภาค สังคมวิถีชีวิตอุบัติใหม่ที่เป็นผลจากการพัฒนาที่ผ่านมา กำลังส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคมใหญ่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น วิถีชีวิตอุบัติใหม่มีผลทำให้ครอบครัวในสังคมเมือง เปลี่ยนไปคนวัยทำงานมุ่งหาเงินสร้างฐานะมากกว่าการมีครอบครัว จึงแต่งงานช้าและมีบุตรน้อยลงทำให้ประชากรเด็ก น้อยลงทุกทีซึ่งจะส่งผลให้เกิดวิกฤติ 1:2:4 ในอนาคต (วิกฤติสังคม ที่คนรุ่นหลาน ๑ คน ต้องดูแลคนรุ่นพ่อ แม่ ๒ คนและ ต้องดูแลคนรุ่น ย่า ตา ยาย ๔ คน ) อย่างไก็ดี การที่จะทำให้ประชาชนลุกขึ้นมาทำด้วยตนเองเป็นเรื่องยาก ต้องอาศัย การศึกษาและการเสริมเติมเต็มพลังปัญญาแก่ประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา ในหมู่บ้าน/ชุมชน มี ประชาชนที่มีจิตอาสาเข้ามา ดูแลสุขภาพของครอบครัว ชุมช คือ อสม.แต่ก็ยังมีปัญหา ข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้ อสม.ไม่สามารถดูแลสุขภาพ เพื่อนบ้านในชุมชน ได้อย่างทั่วถึงได้และเพื่อเป็นการสร้างคนรุ่นหลานให้สามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของ ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืนมีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา เป็นการ สร้างคน เพื่อชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถดูแลสุขภาพคนในครอบครัว/ชุมชน ต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ฝ่ายบริการ สาธารณสุข สำนักกาสธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำ "โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ" ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างผู้นำนักเรียนให้มีความรู้ มีทักษะทางด้านการดูแล สุขภาพที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง เพื่อนนักเรียน ครอบครัวและชุมชน นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และ สามารถช่วยเหลือดูแลทางด้านสุขภาพ เบื้องต้นแก่ตนเอง เพื่อน นักเรียน ครอบครัว และชุมชนได้ร้อยละ ๙๐ |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้นำนักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถ ช่วยเหลือดูแลทางด้านสุขภาพ เบื้องต้นแก่ตนเอง เพื่อนักเรียน ครอบครัว และชุมชนได้ นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และ สามารถช่วยเหลือดูแลทางด้านสุขภาพ เบื้องต้นแก่ตนเอง เพื่อนักเรียน ครอบครัว และชุมชนได้ ร้อย ละ ๙๐ |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑.ขั้นเตรียมการ ๑.๑จัดทำโครงการ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ ๑.๒ ประชุมชี้แจงรายละเอียดแผนงานโครงการแก่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพสุขภาพเทศบาลนคร หาดใหญ่และผู้ที่เกี่ยวข้อง ๑.๓ ประสานโรงเรียนเพื่อรับทราบแผนงานโดรการและพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้ารับการอบรม ๑.๔ ประสานวิทยากรและผู้เกี่ยวข้อง ๑.๕ เตรียมแบบทดสอบความรู้ ก่อน - หลังการอบรม ๑.๖ จัดทำหลักสูตรการอบรม ๑.๗ ประสานการขอใช้สถานที่ในการจัดอบรม ๒.ขั้นดำเนินการ ๒.๑ ประเมินความรู้ก่อนการอบรม ๒.๒ จัดกิจกรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ แก่ผู้นำนักเรียน จำนวน ๑๕ คน โดยการแบ่งฐานความรู้ เป็น ๗ ฐาน และการบรรยายทางวิชาการ เป็นเวลา ๑ วัน ดังนี้ -ฐานน้ำตาลหวานซ่อนร้าย -ฐานการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ -ฐานการปฐมพยาบาลและการป้องกันอุบัติเหตุ เช่น การจมน้ำ รถชน เป็นตัน -ฐานสุขภาพจิตและยาเสพติด -ฐานคุ้มครองผู้บริโภค -ฐานทันตสาธารณสุข -ฐานเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ๒.๓ ประเมินความรู้หลังการอบรม ๒.๔ สรุปผลการดำเนิน รายงนผลการดำเนินงานโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่
1.ผู้นำนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปดูแลสมาชิกในครอบครัวและบุคคลรอบข้างได้ 2.ผู้นำนักเรียนสมารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปเผยแพร่ให้เพื่อนในโรงเรียน และคนในชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 14:19 น.