ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
ชื่อโครงการ | ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 |
รหัสโครงการ | 64-L7258-1-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ฝ่ายบริการสาธารณสุข |
วันที่อนุมัติ | 17 พฤศจิกายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2563 - 15 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 130,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายณตฤณ เพ็ชรมี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือในประเทศที่กำลังพัฒนา (WHO,,2015) ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญต่อการวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญใน การในการนำพาประเทศ โดยได้บรรจุประเด็นดังกล่าวไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ในยุทธศาสตร์ที่ ๓ ยุทธศาสตร์การ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยกรมนุษย์ ในประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เสริมสร้างความรอบรู้ และจิตสำนึกทางสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีศักยภาพ ในการจัดการสุขภาพวะที่ดีได้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นให้ช่วงวัยรุ่น/ นักศึกษา มีการพัฒนาทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ 20 ปี ได้มุ่งเน้นการพัฒพาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย โดยเป้าหมายการ ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยรุ่น มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการส่งเสริมสุขภาพ และการจัดบริการอนามัยการเจริญ พันธุ์ ที่มีมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มาตรา 7 โดยกำหนดให้สถานบริการดำเนินการ (๑) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ผู้รับริการซึ่งป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (๒) จัดให้มีบริการ ให้คำปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่น และสอดดถ้องกับสิทธิตาม มาตรา ๕ ได้แก่ วัยรุ่น มีสิทธิตัดสินใจด้วยตนอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับบริการอนามัยการ เจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาค และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ ประกอบกับ เทศบาลนครหาดใหญ่ มีภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีและเด็ก ตามความในพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขถึงฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 มาตรา 50(7) มาตรา 53(1) และมาตรา 56(1) เทศบาลมีหน้าที่ ส่งเสริมการพัฒนาสตรึ เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและคนพิการ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยาและองค์การบริหาร ส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตนเอง (๑๐) การ สังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส จากการรวบรวมอมูลพื้นฐานด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา พบว่าสถานการณ์การ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีอัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี มีแนวโน้มลดลงในปี 2561-2563 ซึ่งจังหวัดสงขลามี ประชากรวัยรุ่นหญิงช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 35,892 คน โดยพบอัตราการคลอด 23.93, 18.80 และ 5.18 และอายุในช่วง 10 - 15 ปี มีอัตราคลอดมีชีพในปี 2561-2563 พบอัตราการคลอด 0.49, 0.36 และ 0.36 เกณฑ์ไม่เกิน 1.1 ต่อพันประชากรหญิงอายุ 10-15 ปี ตามลำดับ และจากข้อมูลการเฝ้าระวัง แม่ตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาล 16 โรงพยาบาล ในปี 2562 พบว่าช่วงอายุ 15 - 19 ปี มารับบริการมากสุดถึง ร้อยละ 97.5 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา พบร้อยละ ๑๐๐ โดยสถานภาพการศึกษาปัจจุบัน คือ หยุดเรียน และลาออกถึงร้อยละ 42.6 เนื่องจากไม่กล้ากลับไปเรียนเพราะอายเพื่อน และเกิดความครียดจากแรงกดดันทางสังคม และพบแค่ร้อยละ 6.4 ที่กลับมาเรียนที่เดิม เพราะสามารถแก้ปัญหาและมีทางออก เนื่องจากการดูแลช่วยเหลือร่วมกัน จากเพื่อน ครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งสถานการณ์การตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าว อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ซ้ำ ก่อนอายุ ๒๐ ปีในอนาคต รวมถึงแนวโน้มการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย พบอุบัติการณ์เกิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ๕ โรคหลักสูงที่สุดในกลุ่มนักเรียน/ นักศึกษาที่มีอายุ 15 - 19 ปี ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวแสดง ถึงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เทศบาลนครหาดใหญ่ จึงจัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2564 เพื่อส่งเสริม ความสามารถ เสริมสร้างความรู้ ทัศนคติ แลทักษะที่ถูกต้องกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และมีทักษะชีวิตด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ทักษะการปฏิเสธ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมความสามารถและเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติ และทักษะ ที่ถูกต้องของเยาวชน ด้านการป้องกัน การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และทักษะชีวิตด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เยาวชนในสถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่อง ทักษะชีวิตและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
- ประชุมคณะทำงน เจ้าหน้ที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
- ประชาสัมพันธ์โครงการ
- คัดเลือกเยาวชนในสถานศึกษาเตเทศบาลนครหาดใหญ่ รวมทั้งสิ้น ๒๐๐ คน
- ประสานงานทีมวิทยากร
- ดำเนินการตามโครงการโดยจัดกิจกรรมอบรมชิงปฏิบัติการให้ความรู้ จำนวน ๑ วัน
- ประเมินการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง กิจกรรม
- สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผล
๑. เยาวชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้รับความรู้ และ มีทัตนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและทักษะชีวิตในวัยรุ่น ๒. เยาวชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ มีทักษะการปฏิเสธ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 15:03 น.