กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง และศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ
รหัสโครงการ 64-L7250-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กายภาพบำบัด ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 25,830.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสาวกัลยรัตน์ ถิ่นถลาง) นักกายภาพบำบัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทศบาลนครสงขลามีจำนวนประชากรทั้งหมด 60,707 คน โดยในปี พ.ศ. 2563 มีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลระยะยาวในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 133 คน ซึ่งในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขมีจำนวน 22 คน และในศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษมีจำนวน 25 คน พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีปัญหาความเจ็บป่วย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคถุงลมโป่งพองและโรคความดันโลหิตสูง โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกหักหรือร้าว หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและข้อเข่าเสื่อม พิการตั้งแต่กำเนิด การบาดเจ็บไขสันหลัง และปัญหาการบาดเจ็บอื่นๆ จากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหรืออาการดังกล่าวทำให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวและการดูแลรักษา เช่น ข้อต่อติดแข็ง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ และแผลกดทับ เป็นต้น โรค อาการและภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ข้อต่อติดแข็ง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง รวมไปถึงปัญหาคุณภาพชีวิตที่ลดลง โดยปัญหาที่พบบ่อยของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ได้แก่ ญาติหรือผู้ดูแลขาดความเข้าใจในเรื่องของการดูแลและฟื้นฟูผู้ ป่วย ผู้ป่วยไม่สะดวกไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุข จึงทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ขาดการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง และพบว่าการให้บริการสำหรับผู้สูงอายุส่วนมาก จะเป็นการบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขมากกว่าการให้บริการที่บ้าน การติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียงยังทำได้ไม่ครอบคลุมและขาดความต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ภาวะทุพพลภาพ และผู้สูงอายุขาดคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นทางศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงจึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องปัญหาการขาดการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง จึงได้ดำเนินโครงการฟื้นฟูผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงและศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ญาติในการฟื้นฟูผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและเพิ่มการทำกิจวัตรประจำวันให้แก่ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้แก่ญาติในการฟื้นฟูผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
  1. ร้อยละ 25 ของผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงมีกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
25.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงได้รับฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  1. ร้อยละ 25 ของผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงมีการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น โดยวัดจากแบบประเมิน Barthel ADL index
25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำคำขออนุญาตดำเนินโครงการและขออนุมัติงบประมาณ
  2. ประชุมชี้แจงคณะทำงานในการจัดเตรียมการดำเนินงาน
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. คัดเลือกผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและญาติ
  5. จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านฟื้นฟูผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและให้ความรู้แก่ญาติเรื่องการทำการทำกายภาพบำบัดผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
  6. จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านและติดตามอาการผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน
  7. ประเมินและสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ญาติมีความรู้ในการฟื้นฟูผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
  2. ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงได้รับการฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงมีกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
  4. ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงสามารถทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 09:12 น.