กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาตัวแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว
รหัสโครงการ 64-L3346-5-35
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบ้านพร้าว
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาภาพร สมประสงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ย. 2564 10,303.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 10,303.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (10,303.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (30,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 866 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส “เด็งกี่”(Dengue) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เป็นโรคที่กำเนิดขึ้นและมีรายงานมาประปรายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 แต่เกิดระบาดใหญ่เป็นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปีพ.ศ. 2497 ในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาเรื้อรังของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่ร้อนชื้น และจำนวนผู้ป่วยยังคงเพิ่มจำนวนสูงขึ้นเป็นระยะทุก 3 - 5 ปี (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. 2544) โรคไข้เลือดออกเริ่มระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2501 ในกรุงเทพมหานครและระบาดเพิ่มขึ้นทั่วพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้สูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมถึงสูญเสียในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีโครงการความร่วมมือกันจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนเพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่กำหนดไว้ในนโยบายระดับชาติ และกำหนดให้เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน (แผนยุทธศาสตร์โรคติดต่อนำโดยแมลงระดับชาติ. 2555 - 2559) จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในจังหวัดพัทลุง พบว่า มีการศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ผลการศึกษาคือ รูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จากการมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง 2) การออกกฎเกณฑ์ของชุมชน 3) การมีผู้นำที่เข้มแข็ง 4) การประชาสัมพันธ์ 5) การสนับสนุนจากองค์รภาคีเครือข่าย และ 6) ชุมชนมีความตระหนัก โดยรูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่ได้จะเป็นกลไกกำกับความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้ และ เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข ต้องมีบทบาทที่สำคัญโดยเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน และสนับสนุนด้านข้อมูล องค์ความรู้ และเป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง (มาธุพร พลพงษ์ , ซอฟียะห์ นิมะและ ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย.2560) ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์ปัญหาของโรคไข้เลือดออก รวมถึงแผน การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ชุมชนสร้างขึ้นไม่สอดคล้องกับปัญหาอย่างแท้จริง และขาดทักษะในการติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (จีระศักดิ์ ทัพผาและดิเรกดิษฐเจริญ.2556) รูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ได้เกิด ประชาชน ผู้นำชุมชน อสม. และ สอบต. ให้ความร่วมมือ โดยการเสริมสร้างพลังอำนาจหลังจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ขั้นตอนการมีส่วนร่วม และความตระหนักสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลง (สุวัฒน์ เรกระโทก. 2553) จุดด้อยของรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหลักในประเทศไทย ได้แก่ บางโมเดลยังมองไม่ชัดว่าใครมีส่วนร่วมในกระบวนการใดหรือชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ หรือมีการประกาศใช้รูปแบบโดยไม่มีการคืนข้อมูลสู่ชุมชน บางโมเดลยังไม่มีการติดตั้งโปรแกรมดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลาย และการพัฒนารูปแบบดั้งเดิมไม่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยไม่มีการติดตั้งโปรแกรมผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ นอกจากนั้น ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่มีความทวีความรุนแรงมากกว่าทุกปี รวมถึงยังมีความซับซ้อนและความยุ่งยากในการจัดการปัญหา โรคไข้เลือดออกจึงเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาที่สำคัญในระดับท้องถิ่น ดังนั้น การจัดการปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าวรวมถึงการสาธารณสุข จึงต้องพิจารณารูปแบบที่สอดคล้อง เหมาะสม และเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน (วสุธร ตันวัฒนกุล. 2549) การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนบ้านไสกล้วย โดยบูรณาการจากโมเดลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ใช้ในประเทศไทยร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม และบริบทของชุมชนบ้านไสกล้วย ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( action research) รวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศที่ทันสมัยผ่านโทรศัพท์มือถือในการรายงานดัชนีลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้ชุมชนบ้านไสกล้วยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง เกิดการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างเหมาะสม สะดวก ทันสมัยและมีความยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีความเหมาะสมกับชุมชนในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

เกิดตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีความเหมาะสมกับชุมชนในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าวอย่างน้อย 1 ตัวแบบ

100.00 100.00
2 2.ค่าดัชนีชีวัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง

ค่าดัชนีชีวัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง

20.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 30,000.00 1 10,303.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 โครงการพัฒนาตัวแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว 150 30,000.00 10,303.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดตัวแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีความเหมาะสมกับชุมชนในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าวอย่างน้อย 1 ตัวแบบ 1.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 09:27 น.