กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสูงวัยห่างไกลปวดเมื่อยและเสี่ยงล้มในศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 64-L7250-1-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แพทย์แผนไทย ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นายจิรสิน เสาวธารพงศ์) ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดคือการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้สูงอายุซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อัตราการเกิดของประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง ประชากรมีอายุยืนขึ้นเนื่องจากการรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และประชากรที่เกิดในยุค Baby Boomers ได้เข้าสู่วัยสูงอายุ จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีตัวเลขเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศซึ่งถือว่ามีอัตราการเติบโตเป็นอันดับสามในทวีปเอเชียรองมาจากประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น โดยประเทศไทยนั้นได้เข้าใกล้สังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2559 จำนวนผู้สูงอายุในไทยจะมีมากถึง 11.3 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 67.66 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งหมดและจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2565 และในปี พ.ศ. 2573 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 26.9 ของประชากรไทย จำนวนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวน 10,543 คนจากประชากรทั้งหมด 60,707 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 17.4 ของประชากรทั้งหมด ปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุมักพบเจอเป็นประจำคือ 1. อาการปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยในผู้สูงวัยมีปัจจัยมาจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในผู้สูงวัยที่มีการเสื่อมลงของร่างกายทุกระบบ ซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายลดความสามารถในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีการยึด ติด ตึงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้การเคลื่อนไหวไม่มีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ปัจจัยอื่นๆ เช่น อาหารการกิน ที่ขาดวิตามินดีและซี ขาดแร่ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โดยผู้สูงวัยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดเมื่อยได้ง่ายนั้นอาจมาจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น แต่ปัจจัยสำคัญอีกอย่างก็คือการใช้ร่างกายที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ ใช้น้อยเกินไป ใช้มากเกินไป และใช้ผิด        2. การสูญเสียการควบคุมการทรงตัวเป็นปัญหาหนึ่งที่พบบ่อย และพบมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น การควบคุมระบบการทรงตัวของผู้สูงอายุนั้นเป็นการทำงานของระบบประสาทที่ซับซ้อน ต้องการการประสานกันของประสาทรับความรู้ สึกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น ระบบควบคุมการทรงตัวเวสติบูล่า และระบบรับความรู้สึกในข้อต่อและกล้ามเนื้อ รวมทั้งการควบคุมของระบบประสาทสั่งการจากสมองส่วนกลางและการตอบสนองของกล้ามเนื้อส่วนปลาย ซึ่งระบบต่างๆ ต้องทำงานประสานกันเป็นอย่างดี จึงจะช่วยป้องกันการหกล้มได้ การเสียการทรงตัวเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดการหกล้มและการบาดเจ็บที่รุนแรงตามมา รวมทั้งการเกิดกระดูกหัก ซึ่งอันตรายที่จะเกิดตามหลังการเกิดกระดูกหัก ไม่ว่าจะเป็นอาการปวด การจำกัดการทำกิจวัตรประจำวัน หรือการจำกัดการเคลื่อนที่ก็ตาม รวมถึงสภาพจิตใจและการเป็นภาระต่อครอบครัว สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งสิ้น     ดังนั้นการจัดทำโครงการครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านระบบกระดูก กล้ามเนื้อ และการทรงตัว ได้ดูแลสุขภาพเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยเบื้องต้นและการควบคุมระบบการทรงตัวด้วยวิถีไทยตามธรรมชาติ และการออกกำลังกายบริหารมัดกล้ามเนื้อ โดยการใช้ลูกประคบสมุนไพรในการช่วยบำบัดอาการปวดเมื่อยเบื้องต้น ให้ความรู้เรื่อการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และสอนการออกกำลังกายบริหารมัดกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาโรคทางระบบกล้ามเนื้อ และระบบการทรงตัวที่เกิดจากอิริยาบถและการทำงานหนัก และการเสื่อมการทำงานตามวัย และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อดีตให้คงอยู่สืบไปด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อให้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อยและมีภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม มีความรู้ในเรื่องการทำลูกประคบ และให้ความรู้เรื่อการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

3.1 กลุ่มเป้าหมายมีคะแนน pain score ลดลงน้อยกว่าก่อนเข้าโครงการ  ร้อยละ 80

80.00
2 2.2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อยมีอาการปวดเมื่อยลดลงหลังเข้าร่วมโครงการ

3.2 กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนคุณภาพการทรงตัวลดลงร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำคำขออนุญาตดำเนินโครงการและขออนุมัติงบประมาณ     2. ประชุมชี้แจงคณะทำงานในการจัดเตรียมการดำเนินงาน       3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
        4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทำลูกประคบ ทดสอบสมรรถภาพการทรงตัวและให้ความรู้เรื่อการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุแก่ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อยและมีภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม (ใช้ pain score และแบบประเมินการทรงตัว Berg Balance Scale ในประเมินอาการปวดเมื่อยและคุณภาพการทรงตัว)     5. ติดตามผลในกลุ่มที่ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อยที่มีคะแนน pain score 5 – 8 และมีภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 เดือน     6. ประเมินผลโครงการ
        7. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีอาการปวดเมื่อยมีอาการปวดเมื่อยลดลง(มีคะแนนpain score ลดลงน้อยกว่า     ก่อนเข้าโครงการ)
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มลดลงหลังเข้าร่วมโครงการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 09:59 น.