กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการ เทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 64-L7250-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ (นายมานพ รัตนคุณ) พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 43,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นายมานพ รัตนคุณ) พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กล่าวคือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ ๒๐ ใน พ.ศ.๒๕๖๔ กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society)        จาการสำรวจของกรมอนามัย พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ ๙๕ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและพึ่งพิง และมีผู้ป่วยนอนติดเตียงร้อยละ ๑ นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูงแต่ต้องดูแลตนเองหรือไม่มีคนดูแลถึงร้อยละ ๑๓ ในกลุ่มเดียวกัน การเข้าสู่สังคมสูงวัยทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับประเด็นท้าทายต่อคุณภาพชีวิตของประชากรสูงอายุ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ เช่น การเข้าถึงบริการของสังคม รวมถึงสุขภาพของผู้สูงอายุที่พบว่าผู้สูงอายุไทยมีแนวโน้มที่จะเจ็บเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ทั้งจากภาวะของโรคและความรุนแรงของการเจ็บป่วย ส่งผลต่อการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป  ที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรพื้นฐานได้ด้วยตนเองซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแลระยะยาวมากที่สุด      จากการติดตามงาน Long Term Care สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 1,675 คน คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดในจังหวัดสงขลา และจากการสำรวจจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของตำบลบ่อยาง ในปี 2559 - 2563 พบว่ามีจำนวน 59 คน, 60 คน, 74, คน 79 คน, และ 153 คน, ตามลำดับ จากข้อมูลเห็นได้ว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี เทศบาลนครสงขลาได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ขึ้นในปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา ได้มีการรวมกลุ่มและพัฒนาศักยภาพโดยสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมศักยภาพให้สามารถพึ่งตนเองได้ และใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข รวมทั้งการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามสภาพการเจ็บป่วย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ได้รับการบริการดูแลระยะยาวด้าน สาธารณสุขตามแผนการดูแลรายบุคคล โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องและผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver)

3.๑ ร้อยละ 80 ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) มาเข้าร่วมกิจกรรม

80.00
2 2.2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการทางสุขภาพเชิงรุกจากทีมสหวิชาชีพ

3.๒ ร้อยละ ๘๐ ของสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมในระดับดี

80.00
3 2.3 เพื่อให้เกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)

3.๓ ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจากผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดประชุมผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Manager) และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) ๒. จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลาเพื่อพิจารณาอนุมัติ ขั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมประชุมผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้าน สาธารณสุข (Care Manager) และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) จำนวน 2 ครั้ง
๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของ Care Giver จำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 อบรมการดูแลสุขภาพด้านร่างกายและโรคในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการ ครั้งที่ 2 อบรมการใช้แอพพลิเคชั่น iMed@Home สำหรับเครือข่ายเยี่ยมบ้านคนพิการ/ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยเรื้อรัง ครั้งที่ 3 อบรมความรู้เรื่องยาขั้นพื้นฐานและอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการ ครั้งที่ 4 กิจกรรมนวดแผนไทยประคบน้ำมันในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการ ครั้งที่ 5 การสร้าง/พัฒนานวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการ หมายเหตุ กิจกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขั้นสรุปผลและประเมินผล ติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดและสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลนครสงขลา มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตในสังคมด้วยความปกติสุข 10.2 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์ได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ 10.3 มีการขับเคลื่อน ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในพื้นที่เป้าหมายเทศบาลนครสงขลา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 10:17 น.