กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 64-L7250-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 60,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางพรรณี พรหมอ่อน) ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กล่าวคือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ ๒๐ ใน พ.ศ.๒๕๖๔ กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จากสถานณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัว ต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ความพิการหรือทุพพลภาพจะเพิ่มขึ้นตามอายุและต้องการพึ่งพาบุคคลอื่นมากขึ้น จากข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 พบว่า จังหวัดสงขลามีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 217,578 คน คิดเป็นร้อยละ 16.03 ในเขตตำบลบ่อยางมีผู้สูงอายุ จำนวน 10,785 คน      และจากข้อมูลประชากรกลางปีงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครสงขลา ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 พบว่า มีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มจำนวนเป็น 11,245 คน คิดเป็นร้อยละ 18.5 จากข้อมูล จะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นในทุกปี และการเป็นสังคมที่มีประชากรสูงอายุจำนวนมาก ประกอบกับการพัฒนาที่เน้นคุณภาพคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเตรียมความพร้อมของระบบการดูแลผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุเพื่อคงความสามารถของผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็น สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและมีความผาสุก เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ เทศบาลนครสงขลาได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ขึ้นในปี 2560  เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา ได้มีการรวมกลุ่มและพัฒนาศักยภาพโดยสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านต่าง ๆ อย่างครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมศักยภาพให้สามารถพึ่งตนเองได้ และใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12        (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยให้ความสำคัญ กับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์สามารถปรับตัวเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงรอบตัวที่รวดเร็ว โดยการปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ พัฒนาศักยภาพให้มีทักษะความรู้ และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบการดูแลและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับสังคมสูงวัย และผลักดันให้สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็งต่อไป ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ การพึ่งพาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

3.๑ ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมกิจกรรม

80.00
2 2.2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม ทั้ง4 มิติ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ

3.๒ ร้อยละ ๘๐ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมในระดับดี

80.00
3 2.3 เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การทำนุศิลปะและวัฒนธรรมและการวิจัยอย่างครบวงจร

3.๓ ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดประชุมคณะผู้บริหารเทศบาลนครสงขลา คณะกรรมการดำเนินงานของศูนย์ฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ๒. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุและจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. จัดทำโคงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อพิจารณาอนุมัติ ขั้นดำเนินการ 1. การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการจัดการเรียนการสอน สัปดาห์ละ 1 วัน ทุกวันอังคารของทุกสัปดาห์ เวลา 09.00 - 15.00 น. ในระยะเวลา 12 สัปดาห์ ผู้สูงอายุต้องมีเวลาเรียนทุกรายวิชาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด หลังเรียนจบหลักสูตร ผู้สูงอายุที่สำเร็จการศึกษาทุกคนจะได้รับประกาศนียบัตร

  1. โรงเรียนผู้สูงอายุมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้สูงอายุ การพัฒนาทักษะและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุ กิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น การจัดหลักสูตรคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกันและความพร้อมของผู้สูงอายุแต่ละพื้นที่ โดยมีหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุรภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3 กลุ่มวิชา ได้แก่
  2. กลุ่มวิชาชีวิต (50%) ประกอบด้วย 5 หมวดวิชา 1.1 หมวดวิชาสังคม ได้แก่ การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุ การเสาวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน
    1.2 หมวดวิชาชีวิตและสุขภาพ ได้แก่ สุขภาพกาย 3 อ. การดูแลสุขภาพช่องปาก สุขภาพใจ 1.3 หมวดวิชาสภาพแวดล้อม ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและที่พักอาศัยในวัยผู้สูงอายุ 1.4 หมวดวิชาวัฒนธรรมละภูมิปัญญา ได้แก่ การนำหลักศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน การทำสมาธิวิปัสสนา การถ่ายทองภูมิปัญญาผู้สูงอายุ 1.5 และกิจกรรมนันทนาการ (เลือกเสรี) ได้แก่ กิจกรรมเข้าจังหวะ ดนตรี/ร้องเพลง ออกกำลัง การนวดแผนไทย/ธรรมชาติบำบัด 2.  กลุ่มวิชาชีพ (30%) ประกอบด้วย 1 หมวดวิชา 2.1 หมวดวิชาเศรษฐกิจ ได้แก่ การฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย    การจัดทำบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง และงานฝีมือต่าง ๆ 3.  กลุ่มวิชาการ (20%) ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา 3.1 หมวดวิชาสังคม  ได้แก่ กฎหมายและสิทธิ์ประโยชน์ของผู้สูงอายุ จิตอาสาเพื่อชีวิตและสังคม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร 3.2 หมวดวิชาเศรษฐกิจ ได้แก่ การออมในวัยสูงอายุ 3.3 หมวดวิชาและสุขภาพ ได้แก่ โรคเรื้อรังและพบมากในวัยสูงอายุ      ข้อควรระวังในการใช้ยา (หลักเบื้องต้น) หมายเหตุ กิจกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขั้นสรุปผลและประเมินผล ติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดและสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ร่วมอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเอง เกิดการสืบสาน ถ่ายทอด และเผยแพร่ ความรู้ภูมิปัญญาโดยผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ 10.2 ผู้สูงอายุสามารถพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ทักษะทั้งด้านวิชาการและการใช้สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่มีทักษะในการดูแลตนเองได้ตามภาวะสุขภาพ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสุขภาพจิตที่สดใสมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้ง 4 มิติ 10.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น /องค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนภาคีเครือข่าย สามารถนำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปเป็นแนวทางในการสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน การบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุ ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคส่วนอื่นในท้องถิ่น และส่วนกลาง ในการร่วมพัฒนางานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ 10.4 การสร้างเครือข่าย การทำงานร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุ อาจารย์ องค์กรท้องถิ่นและทีมสุขภาพในพื้นที่ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งด้านผู้สูงอายุ พัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้เป็นต้นแบบของการดูแลผู้สูงอายุเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 10:25 น.