กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ตำบลคลองหลา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5166-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 51,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโสลดา โดบีมอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอดินันต์ ยามาสัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.896203,100.389759place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1975 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง ในปีงบประมาณ 2563 การคัดกรองประชากรที่อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงคิดเป็นร้อยละ 92.94 พบกลุ่มเสี่ยง 169 คนคิดเป็นร้อยละ 9.30 กลุ่มเสี่ยงสูง (สงสัยป่วย) 130 คนคิดเป็นร้อยละ 7.15 พบกลุ่มป่วยรายใหม่72 คน ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 93.68 พบกลุ่มเสี่ยง จำนวน 225 คนคิดเป็นร้อยละ10.53 กลุ่มเสี่ยงสูง (สงสัยป่วย)37 คนคิดเป็นร้อยละ 1.73และพบกลุ่มป่วยรายใหม่ 23 คน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่งจึงเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ในตำบลคลองหลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปในตำบลคลองหลา ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

1.ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในเขตตำบลคลองหลาได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๙๐

15.00 10.00
2 2.ค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพื่อเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

อัตราประชากรกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิต ที่บ้าน ≥ร้อยละ 60

40.00 60.00
3 3.ผู้ป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการรักษาคลอบคลุมและรวดเร็ว

กลุ่มเสี่ยงสูง(สงสัยป่วย)ได้รับการติดตามเพื่อการวินิจฉัย ร้อยละ 50

35.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
4 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 คัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทั้ง7 หมู่บ้านในตำบลคลองหลา เป้าหมาย 2,313 คน โดยใช้แบบบันทึกการคัดกรองโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงในการบันทึกผลการคัดกรอง 0 51,160.00 -
รวม 0 51,160.00 0 0.00

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ 1. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนดำเนินกิจกรรมในโครงการ 2. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง ในกลุ่มประชาชนกลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
1. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ได้แก่ วัสดุตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (ACCU-CHEK Perfoma) เข็มตรวจเลือดและแถบตรวจน้ำตาลในเลือด 2. นัดประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อรับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามแบบคัดกรอง
3. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเพื่อเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4. ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานและความดันโลหิต เข้ารับการตรวจซ้ำเพื่อส่งวินิจฉัยที่โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลโครงการ
1.ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในเขตตำบลคลองหลาได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๙๐ 2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง(สงสัยป่วย) โรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิต ที่บ้าน ≥ร้อยละ 60 ส่งพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัย รักษา ≥ ร้อยละ 50 3.ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง(สงสัยป่วย)เบาหวานได้รับการติดตาม พบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยรักษา ≥ ร้อยละ 50

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 11:47 น.