กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบ้านชายถนน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารรสุขบ้านชายถนน
วันที่อนุมัติ 30 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 8,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรมณี ดำล่อง
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขทยตลอดมา เพราะโรคข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายด้ช่วยกันรณรงณ์ป่องกันและควบคุมมาโดยตลอด และด้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆจากภาครัฐและเอกชน แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกม่ด้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์ระบาดของโรคข้เลือดออก จังหวัดพัทลุง ปี 2563 พบว่าอัตราการเกิดโรคข้เลือดออกต่อแสนประชากร จังหวัดพัทลุง 134.13 อัตราการเกิดโรคข้เลือดออกต่อแสนประชากรอำเภอปากพะยูน 64.55 อัตราการเกิดโรคข้เลือดออกต่อแสนประชากรตำบลปากพะยูน 12.35 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน ปัจจุบันกอนทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปากพะยูน และอาสาสมัครสาธารณสุขของศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลปากพะยูน ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคข้เลือดออกมาเป็นระยะเวลาหลายปี พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกลดลงมาก แต่ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ใกล้เคียงมีมาอย่างต่อเนื่อง และประชาชนยังขาดความตระหนัก ต่อการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ปัญหา จากการตั้งรับปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนด้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข้ ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนัน้ การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

1.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียน และชุมชน

1.ค่า HI < 15 2.ค่า BI < 15 3.ค่า CI < 10

1.00
3 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

1.00
4 ประชาชนมีพฤติกรรมถูกต้อง ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีพฤติกรรมถูกต้อง ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2 8,400.00 0 0.00
4 ม.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 ค่าตอบแทนทีม SRRT ที่ออกพ่นหมอกควัน 2 1,200.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควัน 0 900.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 จัดซื้อทรายอะเบทสำหรับทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0 4,000.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 จัดซื้อสเปรย์ฉีดกันยุงบ้านผู้ป่วย 0 1,000.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 จัดซื้อโลชั่นกันยุงสำหรับผู้ป่วย 0 400.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 จัดทำป้ายไวนิล 0 900.00 -

การเตรียมการ 1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเทศบาลตำบลอ่าวพะยูนโรงเรียน ชุมชน หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และอื่นๆๆรวมกันวางแผนดำเนินการ 2.จัดตั้งคณะทำงาน/จัดทำแผนปฏิบัติการ/กำหนดภารกิจ/มอบหมายงาน
3.ประชาสัมพันธ์ /นำเสนออนุมัติแผน
การดำเนินการ 1.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2.รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี
2.1 ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนร่วมโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน 2.2 ใช้สารเคมีใส่ทรายอะเบทในตุ่มน้ำในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม. และพ่นสาเคมีกำจัดยุงลาย 2.3 ทางชีวภาพสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ
2.4 รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนย่า
3.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาทุกเดือนโดย อสม. 4.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาทุก3เดือนโดยการไขว้ อสม.ระหว่างหมู้บ้าน
5.สุ่มสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 30 หลังคาเรือน/หมู่บ้าน ทุกเดือนโดย จนท.
6.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลานในวัด โรงเรียน ศูนย์เด็ก และคลินิกเวชฯ โดย จนท.ทุวันจันทร์
7.ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราป่วยด่วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร 2.สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน
3.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุบป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม 4.ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5.สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 15:46 น.