กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เทศบาลตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 64-L8291-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 18,045.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยศกร เนตรแสงทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตายก่อนวัยอันควรและเป็นปัญหาที่กำลังมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการแสดงให้เห็นจึงมักจะถูกเรียกว่าเป็น“ฆาตกรเงียบ”(silent killer) จากสถิติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556-2560 พบว่าอัตราอุบัติการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 12,342.14 ต่อประชากรแสนคนในปี2556 เป็น14,926.47ต่อประชากรแสนคน ในปี 2563 และโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหลอดเลือดสมอง โดยจากการศึกษาของ Thai Stroke Registry พบว่ามีผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่เกิดจากความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 53 นอกจากนี้การศึกษาโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง พ.ศ. 2553-2554 ของประเทศไทยพบว่ามีการเป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงถึงร้อยละ 62.5 และพบว่ามีเพียงร้อยละ 49.1 จาก 558 รายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีใน 120 วันหลังจากเกิดโรคและจากสถิติของคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.ย่านตาขาว พบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็น1ใน5อันดับโรคผู้ป่วยนอก ตั้งแต่ปี 2561-2563 ในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,180 ราย สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 389 ราย (ร้อยละ32.97) และไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 791ราย(ร้อยละ67.03) (ข้อมูลจากคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.ย่านตาขาว) ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูง  การรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ ต้องมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการจัดการกับความเครียด เนื่องจากการมีภาวะเครียดเป็นประจำก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง อย่างถาวรได้และผู้ที่มีความเครียดจะทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญสูงมากขึ้นแต่ไม่สามารถหมุนไขมันแอลดีแอล ไปใช้ได้ จึงมีผลทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น(ณัฐภรณ์ หาดี, 2555) จากการศึกษามีการใช้การออกกำลังกาย  แบบภูมิปัญญาตะวันออกที่เน้นเรื่องการหายใจ เช่น โยคะ ไทเก๊ก ชี่กง มาใช้ในการผ่อนคลายความเครียดโดยใช้วิธีการหายใจพร้อมกับท่าทางและการสร้างจินตภาพหรือการฝึกจิตเพื่อไปสู่สมาธิ วิธีการเหล่านี้ทำให้ผู้ฝึกมีจิต สงบนิ่ง ร่างกายและจิตใจ ได้รับการผ่อนคลายลดความรุนแรงของโรคได้เพราะจิตเกี่ยวข้องกับการเพิ่ม  ภูมิต้านโรคการทำงานของใจ(วิญญาณ) (สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี, 2549)
สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี (2549) ได้คิดค้นวิธีการฝึกสมาธิบำบัดแบบSKT 1-7 ที่เกี่ยวกับ กลไกการทำงานของร่างกายด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัสและการเคลื่อนไหว ตามหลักวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับหลักพุทธศาสนาในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา โดยเฉพาะการทำสมาธิ ด้วยการหายใจเข้า“พุทธ”หายใจออก “โธ”สามารถช่วยให้จิตใจคลายเครียดกระตุ้นการหลั่งของสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกันและรักษาความสมดุลให้กับร่างกาย การฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT ใช้หลักการกำหนดจิตรับรู้และการเคลื่อนไหว ด้วยลมหายใจ เข้าและออก เป็นตัวขับเคลื่อน
ดังนั้น รพ.ย่านตาขาว มีความสนใจที่จะศึกษาสมาธิบำบัดในการลดความดันโลหิตโดยใช้การฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT ใน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จึงได้จัดทำโครงการ ฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เทศบาลตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง โดยคาดหวังว่าวิธีนี้จะทำให้ความดันซีสโตลิคและไดแอสโตลิค ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้อยู่ในระดับดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสมาธิบำบัดแบบ SKT

-ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสมาธิบำบัดแบบ SKT

0.00
2 -เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

-ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 18,045.00 0 0.00
4 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ฝึกอบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสมาธิบำบัดแบบ SKT 70 18,045.00 -
  • สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย (ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว)
  • ประชุมทีมงานและผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการ
  • ประสานงานวิทยากรและผู้เกี่ยวข้อง
  • จัดอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (หลักสูตร1วัน)
  • ติดตามระดับความดันโลหิตในกลุ่มเป้าหมาย (7วัน หลังเข้าร่วมโครงการ)
  • สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ระดับความดันโลหิตลดลง มีโอกาสป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองลดลง จิตใจผ่อนคลายความเครียดและร่างกายมีการรักษาความสมดุลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 15:46 น.