กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 1 ตำบล 1 NCD
รหัสโครงการ 64-L3068-10(1)-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคัสรีนา ดุลย์ธารา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซำซียะห์ ดือราแม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ม.ค. 2564 28 ม.ค. 2564 19,990.00
รวมงบประมาณ 19,990.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
28.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
34.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อต่ำสุดเมื่อเทียบในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก (SEARO) จากข้อมูลปีพ.ศ.2559 โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรคและอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร (30-69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ถึงปีพ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปีพ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง 1.2 สภาพปัญหา : อุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานรายใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยมีปัจจัยเชิงบวกด้านพฤติกรรม ในประชากรที่ดีขึ้นทั้งในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น คือ ความชุกของการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่คุกคามสุขภาพคือการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล และการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ อาจกล่าวได้ว่าการลดลงของอุบัติการณ์เบาหวาน และภาวะความดันโลหิตสูง เป็นผลจากมาตรการการควบคุม ป้องกันโรค และปัจจัยเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในบางช่วงเวลาความชุกของ ปัจจัยเสี่ยง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ทว่ายังคงเป็นการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ไม่มาก นอกจากนั้นอาจสะท้อนว่าควรเพิ่มมาตรการ และ ความเข้มข้นในการดำเนินมาตรการเพื่อปรับแนวโน้มให้เปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการด้านการควบคุมการบริโภค อาหารหวาน มัน และเค็ม นอกจากนั้นควรมีการสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหารและปริมาณโซเดียมที่บริโภคต่อวันอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานตำบลบางตาวาปี 2561-๒๕๖3 พบว่ากลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ยังคงมีจำนวนใกล้เคียงกันทุกปี แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่สามารถจัดการกับปัจจัยเสี่ยงได้ ปี 2563 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน จำนวน 28 คน กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 34 คนในขณะที่กลุ่มป่วยรายใหม่โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มลดลงแต่ผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ ปีงบประมาณ 2563 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ ร้อยละ ร้อยละ 36.33(เกณฑ์ร้อยละ 50) โรคเบาหวานสามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 12.38 (เกณฑ์ร้อยละ ๔๐) ในขณะที่กลุ่มป่วยข้างต้น ได้รับการคัดกรองCKD ร้อยละ 53.03 (เกณฑ์ร้อยละ 8๐) 1.3 ความเร่งด่วน / ผลที่คาดหวัง : จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหา เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ป้องกันไม่ให้ป่วย และกลุ่มป่วยสามารถควบคุมโรคได้เกิดเครือข่ายในการดูแลสุขภาพที่เข้มแข็งโดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การพึ่งพาตนเอง รพ.สต.บางตาวา จึงได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านNCD โดยใช้กลไกการดำเนินงานของเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ไม่ให้ป่วย และกลุ่มป่วยสามารถควบคุมโรคได้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักทางสุขภาพแล้ว จะนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะการเป็นโรค ชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน ชุมชนเข้มแข็งด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพกันเองในชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรค

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนลดลง

62.00 30.00
2 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม ประเมินภาวะสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม ประเมินภาวะสุขภาพ

62.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 3930 19,990.00 6 19,990.00
18 มี.ค. 64 จัดประชุมชี้แจงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 30 4,350.00 4,350.00
22 มี.ค. 64 ประชุมชี้แจงคืนข้อมูลสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังร่วมกับภาคีเครือข่าย 20 2,900.00 2,900.00
29 มี.ค. 64 ประชุมชี้แจงเพื่อนำเสนอมาตรการทางสังคมในเวทีประชุาคม 40 5,800.00 5,800.00
1 เม.ย. 64 ติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินสภาวะสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง 30 1,500.00 1,500.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมชี้แจงคัดเลือกบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 30 4,350.00 4,350.00
20 พ.ค. 64 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์มาตรการทางสังคมของหมู่บ้าน 3,780 1,090.00 1,090.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวา
  2. ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการจัดอบรมแก่ คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา  เพื่อประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อบต. ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชนในชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  3. จัดเตรียมกำลังคนและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยใช้หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้าน
  5. จัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง
  6. การติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  7. เยี่ยมบ้าน ประเมินสภาวะสุขภาพ
  8. สาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม 9.กำหนดมาตรการทางสังคมของหมู่บ้านจัดงานในหมู่บ้าน ลดหวาน มันเค็ม 10.คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบลดหวาน มัน เค็ม
  9. สรุป วิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง มีทักษะในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงได้ไม่กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตอย่างครอบคลุม 3.เกิดหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เข้มแข็ง มีการดำเนินงานที่เป็นระบบ ต่อเนื่อง มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม 4.อบต.มีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน ทั้งปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5.เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ลดหวาน มันเค็ม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2564 13:09 น.