กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการศูนย์บริการชุมชนบางตาวา Drop in center
รหัสโครงการ 64- L3068-10(1)-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบสลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 27,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคัสรีนา ดุลย์ธารา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซำซียะห์ ดือราแม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ม.ค. 2564 28 ม.ค. 2564 27,100.00
รวมงบประมาณ 27,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามยุทธศาสตร์การยุติปัญหาเอดส์และวัณโรคภายในปี 2573ได้มีกลยุทธ์ตามหลักบริการสุขภาพที่ต่อเนื่องเรียกว่า RRTTR (Reach – Recruit – Test – Treat - Retain) ประกอบด้วยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการให้ความรู้ และชุดบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจะได้รับการส่งต่อเข้าสู่บริการตรวจหาการติดเชื้อ การคัดกรองวัณโรคหากมีการติดเชื้อสามารถเข้าสู่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์และรักษาวัณโรค และการทำให้กลุ่มเป้าหมายคงอยู่ในระบบการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ที่มีสถานการณ์ติดเชื้อเป็นลบยังคงมีสถานการณ์ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่ง การดำเนินงานตามกลยุทธ์ ตามหลักบริการสุขภาพที่ต่อเนื่องต้องการการเชื่อมต่อระหว่างการบริการเชิงรุก ในชุมชนกับ ระบบบริการสุขภาพ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีศูนย์บริการชุมชน(Drop in Center : DIC) หรือหน่วยบริการสุขภาพในชุมชนที่ดำเนินงานเชิงรุกเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นำพาเข้าสู่ระบบสุขภาพเพื่อประเมินสถานะ การติดเชื้อ เอชไอวี หรือวัณโรค และเข้าสู่ระบบการรักษา รวมทั้งการติดตาม ให้ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง กับระบบบริการสุขภาพ ซึ่งการให้บริการสุขภาพฯ ดังกล่าวดำเนินการโดยศูนย์บริการชุมชน (DIC : Drop in Center) ควรเป็นไปตามแนวทางหรือมาตรฐานการจัดบริการที่เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ครบถ้วน และต่อเนื่อง ซึในตำบลบางตาวาได้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดชนิดเฮโรอีน ซึ่งมีพบกับการเพิ่มขึ้นของโรคเอดส์ตามมา นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายฟื้นฟูศูนย์ขวัญแผ่นดิน ยังมีพฤติกรรมกลับไปเสพซ้ำ และเพื่อเป็นการมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่ยังมีการแพร่ระบาด ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวาได้ตระหนักถึงความรุนแรง และผลกระทบของปัญหายาเสพติดระยะยาว ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้เป็นเรื่องยากในการที่จะดำเนินการแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวาจึงร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายต่างๆเพื่อจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ศูนย์บริการชุมชนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ศูนย์บริการชุมชนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ได้ระดับเพชร

1.00 1.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเอดส์ รายใหม่

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ในพื้นที่ลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 7700 27,100.00 4 17,850.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ค. 64 จัดกิจกรรมประชุมชี้แจงคณะกรรมการและแกนนำศูนย์บริการชุมชน (Drop in center) 30 4,350.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ศูนย์บริการชุมชน (Drop in center) 3,780 1,900.00 1,900.00
1 - 30 พ.ค. 64 ประชุมชี้แจ้งให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน 40 5,800.00 5,800.00
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 ประชุมชี้แจงให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในโรงเรียน 40 5,800.00 5,800.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดระบบให้บริการในศูนย์บริการชุมชน (Drop in center) 3,780 4,900.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมชี้แจงถอดบทเรียนศูนย์บริการชุมชน (Drop in center) 30 4,350.00 4,350.00
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ เช่น แผ่นผับ แผ่นผ้าไวนิล และอื่นๆ
  3. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดตั้งศูนย์บริการชุมชน (Drop in center) เพื่อเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดที่จัดกิจกรรมและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต โดยให้บริการตามความต้องการที่จำเป็นของผู้ใช้ยาเสพติดทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตวิญญาณ ความรัก ความรู้ การศึกษา อาชีพ รวมถึงการปกป้องสิทธ์ในสังคมอย่างเสมอภาค ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ด้วยการเข้าใจและเห็นคุณค่าของผู้ใช้ยาเสพติด ในหมู่ 1 ที่ทำการกำนัน และใน หมู่ 2 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา
  5. กิจกรรมที่จัดขึ้นใน DROP IN CENTER เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการใช้เข็มร่วมกันในกลุ่มที่ใช้สารเสพติดแบบฉีด ป้องกันโรคเอดส์และไวรัสตับอักเสบ,การดูแลสุขภาพ เช่น พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ , การรักษาทั้งโรคทางกายและยาเสพติด ( เลิกได้ให้เลิก , เปลี่ยนเป็นยาเสพติดที่ถูกกฎหมายเพื่อการรักษา ) , การตรวจเลือด , ระบบส่งต่อบริการ , การให้โอกาส เช่น การทำงาน ที่อยู่อาศัย กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพ ,เป็นที่พึ่งทางใจ คลายเครียด โดยมีสหวิชาชีพจากทางโรงพยาบาลหนองจิกและเครือข่ายชุมชนร่วมมือกัน
  6. คัดเลือกอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อนต้านภัยโรคเอดส์ 7.สรุป วิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดศูนย์บริการชุมชน (Drop in center) ของตำบลบางตาวา
  2. ผู้ผ่านการเข้าค่ายฟื้นฟูศูนย์ขวัญแผ่นดิน ไม่มีพฤติกรรมกลับไปเสพซ้ำ
  3. มีภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานยาเสพติด 4.เกิดอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อนต้านภัยโรคเอดส์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564 12:05 น.