กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ อาชีพเกษตรกรสวนยางพารา หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด ระยะที่ 1

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ อาชีพเกษตรกรสวนยางพารา หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด ระยะที่ 1
รหัสโครงการ 64-L5300-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแค
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 9,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิราภรณ์ พรหมเมศว์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)
0.00
2 ร้อยละของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติเมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญของครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกระบบหรือแรงงานนอกระบบ เช่น เกษตรกร ประมง ร้านอาหาร/ขนม ซ่อมรถ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อสร้าง เป็นต้น เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเองไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน หากเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบเหตุอันตรายไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนและคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้ประกอบอาชีพแรงงานนอกระบบ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแคมีแรงงานนอกระบบ ประกอบด้วย เกษตรกรชาวสวนยางพารา เกษตรกรปลูกผัก ประมง เป็นต้น โดยกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา ถือเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแค และยังประกอบอาชีพปลูกผักเพื่อหารายได้เสริมนอกเหนือจากการกรีดยางพาราด้วย ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแคตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในครัวเรือนของแรงงานนอกระบบ จึงได้จัดโครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ อาชีพเกษตรกรสวนยางพารา หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด เพื่อสำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำข้อมูลสถานการณ์และความเสี่ยงด้านสุขภาพของกลุ่มแรงงานนอกระบบเพื่อนำฐานข้อมูลจำนวนแรงงานนอกระบบในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแค มาแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้แรงงานนอกระบบ โดยการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคจากการทำงาน สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงจากการทำงานให้กับกลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

0.00 22.00
2 เพื่อลดภาวะเครียดวิตกกังวลในผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

ร้อยละของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล

50.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 อบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ศึกษาเครื่องมือในการสำรวจประเมินความเสี่ยง 0 6,395.00 6,395.00
1 ก.พ. 64 - 30 มิ.ย. 64 อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) สำรวจพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากเครื่องมือการสำรวจพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ 0 3,525.00 3,525.00
รวม 0 9,920.00 2 9,920.00

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัยชุมชนในพื้นที่ 1. พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.)โดยการอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ศึกษาเครื่องมือในการสำรวจประเมินความเสี่ยง   1.อบรมให้ความรู้อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) จำนวน 1 ครั้ง และศึกษาเครื่องมือในการสำรวจ
2. อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) สำรวจพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากเครื่องมือการสำรวจพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ   2.1 สำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยง (google form)
  2.2 ประชุมสรุปผลการสำรวจข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพารา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ในพื้นที่ จำนวน 22 คน
2. กลุ่มเสี่ยงจำนวน 60 คนได้รับการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง ผลลัพธ์ แรงงานนอกระบบ กลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราได้รับการสำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและมีการจัดทำข้อมูลสถานการณ์และความเสี่ยงด้านสุขภาพของกลุ่มแรงงานนอกระบบเพื่อนำฐานข้อมูลจำนวนแรงงานนอกระบบในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแค เพื่อใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้แรงงานนอกระบบต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564 13:52 น.