กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรเพื่อสุขภาพ สำนักปลัด (ทต.เขาหัวช้าง)
รหัสโครงการ 2564-L3328-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด ทต.เขาหัวช้าง
วันที่อนุมัติ 17 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีระศักดิ์ ณ พัทลุง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คัดเลือก จ.พัทลุง เป็นจังหวัดนำร่องโครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ประเทศ โดยกำหนดพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ และมีความโดดเด่น มีรูปแบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ภายใต้ยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง ปี 2561-2564 “พัทลุง เมืองคนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็ง เติบโต และมั่งคั่งจากฐานการเกษตร วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน”และดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนขับเคลื่อนเป้าหมายสู่ “Phatthalung Green City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี” นั้น   จากการสำรวจข้อมูลพบว่าประชากรในเขตเทศบาลตำบลเขาหัวช้างมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงแก่ชีวิต
  เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ วิธีป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเองเพื่อลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น การถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเคมี การส่งเสริมทำเกษตรยุคใหม่ ให้ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ จึงขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อจัดทำโครงการเกษตรเพื่อสุขภาพขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้การทำเกษตรยุคใหม่ ให้ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพในพื้นที่ของเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการทำเกษตรยุคใหม่ ให้ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักไปใช้ แทน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือการใช้ปุ๋ยเคมี

กลุ่มเป้าหมายสามารถทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักมาใช้ แทน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือการใช้ปุ๋ยเคมี

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

กลุ่มเป้าหมายมีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรมให้ความรู้ เรื่องการทำเกษตรยุคใหม่ ให้ปลอดภัยและใส่ใจสุขภาพ
  2. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชปลอดสารพิษการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพ งบประมาณ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าไวนิลโครงการขนาด 1.2x2.4 ม. เป็นเงิน 576 บาท
  • ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรมและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการส่งเสริมการปลูกพืชปลอดสารพิษ การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นเงิน 19,524 บ. (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย) ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ รวม 25,000 บาท
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการทำเกษตรยุคใหม่ ให้ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ สามารถทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักมาใช้แทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือการใช้ปุ๋ยเคมี มีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564 14:13 น.