กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นฝังทรายบำบัดบรรเทาอาการปวดเมื่อยปวดเข่า
รหัสโครงการ 64-L7250-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ชุมชนสระเกษ
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นายชาญชัย ทองชะอุ่ม) ตำแหน่ง อสม.ชุมชนสระเกษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงในชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง 1,234 คน มีปัญหาปวดเมื่อยปวดเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม เวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า มีเสียงดังในข้อเข่า รวมทั้งกลุ่มผู้ที่มีอาการชา  ปลายมือปลายเท้า เดินไม่สะดวก ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตลดลง ส่งผลให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
ตำบลบ่อยางถือเป็นตำบลที่มีพื้นที่เป็นหาดทรายชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เหมาะแก่การใช้ทรายบำบัดโรคข้อเข่าเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดบรรเทาอาการปวดเมื่อยปวดเข่า ในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม การฝังทรายโดยใช้ธรรมชาติบำบัด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ลดการกินยา ธรรมชาติจะช่วยปรับสมดุลร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนดี อีกทั้งยังช่วยให้ผ่อนคลาย ผู้ที่เป็นเป็นภูมิแพ้ ปวดข้อ    ข้ออักเสบ หอบหืด เครียด นอนไม่หลับ สามารถฝังทรายบำบัดเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ ดังนั้นทางชุมชนจึงเห็นความสำคัญของการใช้ทรายบำบัดโรค บรรเทาปวด จึงได้เขียนโครงการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นฝังทรายบำบัดบรรเทาอาการปวดเมื่อยปวดเข่า นี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโรคข้อเข่าให้ทุเลาอาการเบาบางลงไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการดูแลตนเองจากอาการปวดเมื่อยปวดเข่าให้ดีขึ้น
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการดูแลตนเองจากอาการปวดเมื่อยปวดเข่า
80.00
2 - เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มผู้สูงอายุมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ แก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและบำบัดโรคโดยวิธีฝังทราย ณ ชายหาดชลาทัศน์/ชายหาดสมิหลา จำนวน 20 ครั้ง
  4. ติดตามประเมินอาการหลังได้ปฏิบัติจริง
  5. สรุปรายงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่เข้ารับการบำบัดสามารถลดความเจ็บปวดและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2564 09:19 น.