กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “อบรมพัฒนาแกนนำสุขภาพ สองวัยในชุมชน” ในเขตเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 64-L7250-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธาน อสม. ศูนย์วัดไทรงาม
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสมจิต ฟุ้งทศธรรม) ตำแหน่ง ประธาน อสม. ศูนย์วัดไทรงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 83 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ ๒  (๒๕๕๘ – ๒๕๖๒) รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้การเกิดทุกรายเป็นที่ปรารถนาปลอดภัย และมีคุณภาพด้วยการส่งเสริมให้ทุกคนทุกเพศทุกวัย มีอนามัยเจริญพันธุ์ที่ดี โดยยึดหลักการสมัครใจเสมอภาคและทั่วถึง เพื่อเป็นการพลังประชาชนสร้างประเทศให้รุ่งเรืองมั่งคั่งและมั่นคงสืบไป อนามัยเจริญพันธุ์เป็นการพัฒนาประชากรที่ เน้นด้านคุณภาพ ด้านการเจริญพันธุ์ ที่ครอบคลุมทั่วสุขภาพทางเพศ ทั่งร่างกาย จิตใจ สังคม เพศมิติ พฤติกรรมทางเพศรวมถึงการแสดงบทบาททางเพศจึงต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่เกิดจนสิ้นอายุไขประกอบด้วย ๑๐ องค์ประกอบ ได้แก่การวางแผนครอบครัว การอนามัยแม่และเด็ก ภาวการณ์มีบุตรยากการแท้งและภาวะแทรกซ้อน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีความเชื่อมโยงส่งผลซึ่งกันและกันที่จะนำไปสู่คุณภาพการเจริญพันธุ์ที่ดีของประชากรแต่ละวัย ด้วยผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ละเขตเทศบาลนครสงขลา มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้เบี้ยยังชีพ ๘๕ คน และยังรอรับอีก ๓ คน ใน ๕๕ คน ชุมชนทางกลุ่มไทรงามที่ทำงานรณรงค์ในพื้นที่จะเห็นถึงการดูแลและทำงานส่งเสริมสุขภาพทำงานเชิงรุกให้มากขึ้นในทุกชุมชนพื้นที่ของตำบลบ่อยาง จึงได้คิดถึงการสร้างแกนนำสุขภาพด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ขึ้นมาทำงานร่วมกับกลุ่มไทรงามในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื่อเอชไอวี นั้นในชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครสงขลา เพื่อให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และอนามัยเจริญพันธ์สู่ชุมชน

๑.  มีแกนนำสุขภาพประจำชุมชนอย่างน้อย ๗๐% มีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวีเอดส์

70.00
2 ๒. เพื่ออบรมแกนนำด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวีเอดส์ในชุมชนให้แก่ แกนนำสุขภาพ

๒. มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ไว้บริการในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

0.00
3 ๓. เพื่ออบรมรูปแบบค่ายเยาวชน เรื่องอนามัยเจริญพันธ์

๓. มีแกนนำเยาวชนด้านการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และด้านอนามัย ความสำเร็จของโครงการเจริญพันธ์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ / วางแผน - จัดเตรียมหลักสูตรอบรมแกนนำสุขภาพ - จัดเตรียมหลักสูตรอบรมแกนนำ / เข้าค่ายเยาวชน - ติดต่อวิทยากรจาก สสจ.สงขลา และเครือข่ายผู้ติดเชื้อจังหวัดสงขลา - ประสานสถานที่ - จัดอบรมแกนนำสุขภาพด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์จำนวน ๒ วัน ๖๐ คน - เข้าค่ายเยาวชนแกนนำสุขภาพ ๒ วัน ๑ คืน ๓๐ คน - ขั้นประเมินก่อน / หลังการอบรม - ทบทวนกิจกรรม / แลกเปลี่ยนความคิดเห็นความรู้จากการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. แกนนำสุขภาพมีทักษะความรู้ เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างน้อย ๗๐ % เพื่อถ่ายทอดต่อชุมชน ๒. เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายเยาวชนมีทักษะความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธ์ เพื่อ ไว้ป้องกันตนเองและบอกต่อเพื่อนได้
อารมณ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2564 09:22 น.