กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ช่วยกันควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนและในโรงเรียนบ้านบาเลาะ ปี2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาเลาะ
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอดียะห์ ยูโซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 25,700.00
รวมงบประมาณ 25,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย, ชุมชน, สังคมและประเทศชาติ ตามลำดับ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเช้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ แต่เดิมทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-9 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุและโรคไข้เลือดออกนี้ มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ     สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสำคัญที่ชุมชน องค์กรทุกระดับในพื้นที่ต้องตระหนักและเร่งแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น ให้ความสำคัญในการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด ระดมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีผู้ป่วยรายใดมีอาการรุนแรงจนเข้าสู่ภาวะช็อคหรือเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกก็ตาม ในการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในปีทีผ่านมายังมีปัญหาอยู่ ได้แก่ ประชาชนมักขาดความร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อม จนเกิดปัจจัยเอื้อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอันเป็นพาหะสำคัญในการแพร่กระจายโรค , ประชาชนขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวงจรชีวิตยุงลาย ไม่ให้ความสำคัญในการกำจัดตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงลายอย่างเหมาะสม ประชาชนขาดความตระหนักที่จะเฝ้าระวังโรค ไม่เห็นความสำคัญและไม่สร้างนิสัยในการกำจัดยุงลายและช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง มักปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำหน้าที่ในการป้องกัน ควบคุมโรค, ทรัพยากร/อุปกรณ์ในการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงลายมีไม่เพียงพอ จากที่กล่าวมานับเป็นปัญหาและอุปสรรคที่เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งระดมความคิดในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคและการดำเนินที่ผ่านมา ไม่สามารถดำเนินได้ผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ยังมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกปี แม้ว่าจะไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกก็ตาม ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งต่อไป ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาเลาะจึงได้ทำโครงการนี้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน ตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ส่งเสริมให้ประชาชนทุกหลังคาเรือน โดยอสม. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวผู้นำนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ประชาชนทุกหลังคาเรือน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาอสม. นักเรียนและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ร้อยละ90

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยและตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกให้น้อยลง

เพื่อลดอัตราป่วยและตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกให้น้อยลง ร้อยละ20

0.00
3 เพื่อควบคุมอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

0.00
4 เพื่อกำจัด ควบคุมหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุยุงลายในชุมชน/ในสถานบริการและโรงเรียนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

เพื่อกำจัด ควบคุมหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุยุงลายในชุมชน/ในสถานบริการและโรงเรียนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 .กลวิธีที่ 1 การพัฒนาศักยภาพประชาชนและปรับปรุงสภาพแวดล้อม
กิจกรรมที่ 1. ประชุมทีมงานให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย ๓ เก็บ ๓ โรค
กิจกรรมที่ 2. ดำเนินการรณรงค์ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการกำจัดลูกน้ำยุงลาย  ทุกเดือน โดยประชาสัมพันธ์จัดทำไวนิล จำนวน 3 หมู่บ้าน 3 แผ่น ติดบริเวณมัสยิดแต่ละหมู่บ้าน กลวิธีที่ 2 การพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและเทคโนโลยี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ 1. อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย อสม.แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำนักเรียนเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก กลไกการเกิดโรคการดำเนินการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ในชุมชนและสถานบริการ กิจกรรมที่ 2. อบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียน เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก กลไกการเกิดโรคการดำเนินการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ในโรงเรียน กิจกรรมที่ 3. มีการติดตามรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  โดยอสม. กลวิธีที่ 3 การบริหารจัดการและพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่โรงเรียน กลวิธีที่ 4 การประสานงานกับ อบต.และภาคีสุขภาพเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกระยะยาว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง     2. อัตราป่วยและตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง     3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอยู่ในเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด     4. สามารถกำจัด ควบคุมหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุยุงลายในชุมชน/ในสถานบริการและโรงเรียนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2564 11:20 น.