กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกพร้อมจัดรูปแบบการให้บริการวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน(Home BP)ตำบลแพรกหา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.654,100.01place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2564 45,000.00
รวมงบประมาณ 45,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 144 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลย้อนหลังประชากรในตำบลแพรกหา ที่ได้รับตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้น ในปี 2563 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท) จำนวน 265 คน ปี 2564 จำนวน 144 คนและมีความจำเป็นต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน โดยวัดตอนตื่นนอนตอนเช้า 2 ครั้ง และก่อนเข้านอน 2 ครั้ง นำค่าความดันโลหิตที่ได้มาเฉลี่ย หากค่าความดันโลหิตเกิน 139/89 มิลลิเมตรปรอท จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกพร้อมจัดรูปแบบการให้บริการวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน(Home BP) เพื่อเป็นการยืนยันผลการคัดกรอง และได้รับการวินิจฉัยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและสงสัยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำที่บ้านภายหลังได้รับคำแนะนำ/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มกลุ่มเสี่ยงและสงสัยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านครบตามระยะเวลาที่กำหนด
0.00
2 2. กลุ่มเสี่ยงและสงสัยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อกรับการวินิจฉัยและรักษา
  1. ร้อยละ 100 กลุ่มกลุ่มเสี่ยงและสงสัยโรคความดันโลหิตสูง หลังได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อกรับการวินิจฉัยและรักษา
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย
  2. กำหนดแผนในการปฏิบัติงาน ร่วมกับอสม. ในตำบลแพรกหาที่รับผิดชอบครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ และแจ้งแผนปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมาย
  5. จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล
  6. จัดทำแผนการออกวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  7. ออกปฏิบัติตามแผนการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  8. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงและสงสัยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการประเมินความดันโลหิตที่บ้านและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
  2. กลุ่มเสี่ยงและสงสัยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการวินิจฉัยโรค และได้รับบริการการรักษารวดเร็ว ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2564 16:04 น.