กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะเจ็บป่วยซ้ำซ้อนในผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านแพรกหา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 89,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านแพรกหา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.654,100.01place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 89,500.00
รวมงบประมาณ 89,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 172 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ผู้ป่วยล้นเตียงในโรงพยาบาล และผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วยระยะฟื้นฟูที่นอนติดเตียงและถูกให้ออกจากโรงพยาบาลมาดูแลต่อโดยเครือข่ายหมอครอบครัวหรือญาติที่บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้น ปี ๒๕๖๒ ตำบลแพรกหามีผู้ป่วยที่นอนติดเตียง รอการรักษาระยะสุดท้ายหรือรอการฟื้นฟู จำนวน ๑6 คน ปี ๒๕๖๓ จำนวน ๑4 คน และปี ๒๕๖๔ จำนวน 13 คน ตามลำดับ ซึ่งลดลงตามสภาวะของโรคและความสามารถในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย ซึ่งระหว่างปีผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นในการรักษา ฟื้นฟูและป้องกันภาวะการเกิดโรคซ้ำซ้อน เช่น
๑. เตียงปรับระดับได้ที่ ช่วยป้องกันการสำลักอาหารและเสมหะ และความสะดวกสบายของผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนท่าและขับถ่ายบนเตียง ๒. ที่นอนลม ใช้สำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ ๓. เครื่องดูดเสมหะ ช่วยระบบหายใจ และการสำลักเสมหะ น้ำลาย ป้องกันการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ
๔. เครื่องผลิตออกซิเจน ใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหายใจหรือช่วยเพิ่มออกซิเจน 5. รถเข็นชนิดนั่ง ใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเดิน
ปี ๒๕๖1 ตำบลแพรกหาได้จัดตั้งกองทุนกายอุปกรณ์ สำหรับการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยพิการ และผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งร่วมกันจากหลายภาคส่วน เพื่อการบริหารจัดการอุปกรณ์สนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ตามความต้องการและจำเป็นของผู้ป่วย ตามความที่ร้องขอ และในปีที่ผ่านมามีอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยพิการ และผู้ป่วยติดเตียง ประกอบด้วย
๑. เตียงปรับระดับได้ จำนวน 16 เตียง (ได้รับบริจาค และงบกองทุนสุขภาพ) ๒. ที่นอนลม จำนวน 15 ตัว (ได้รับบริจาค งบค่าเสื่อม และงบกองทุนสุขภาพ) ๓. ถังออกซิเจน พร้อมเกย์ จำนวน 5 ชุด (ได้รับบริจาค งบค่าเสื่อม และงบกองทุนสุขภาพ) ๔. เครื่องดูดเสมหะ จำนวน 6 เครื่อง (ได้รับบริจาค งบค่าเสื่อม และงบกองทุนสุขภาพ) 5. รถเข็นชนิดนั่ง จำนวน 10 คัน (ได้รับบริจาคและงบกองทุนสุขภาพ) ๖. เครื่องผลิตออกซิเจนชนิดไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง (ได้รับบริจาค และงบกองทุนสุขภาพ) อุปกรณ์ทั้งหมดไม่เพียงพอกับความต้องการเร่งด่วนของจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นและรอใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ขณะนี้มีผู้ป่วยติดเตียงมีความต้องการอุปกรณ์เร่งด่วน ดังนี้ (ข้อมูล เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖2) ๑. เตียงปรับระดับได้ ชนิดมือหมุน จำนวน ๒ เตียง ๒. ที่นอนลม จำนวน ๓ ตัว
๓. เครื่องผลิตออกซิเจน ชนิดไฟฟ้า จำนวน ๒ เครื่อง ผู้ป่วยเหล่านี้หากไม่ได้ การสนับสนุนอุปกรณ์ดังกล่าว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ภาวการณ์เจ็บป่วยเลวลง เพิ่มค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลและเสียชีวิตได้ในระยะก่อนสมควร จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้  ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงได้เข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็น เร่งด่วนดังกล่าว โดยจัดให้มีอุปกรณ์ตามความจำเป็น เพื่อการดูแลและฟื้นฟูผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง โดยใช้กายอุปกรณ์ร่วมด้วย ตลอดจนการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากความขาดแคลนอุปกรณ์ดังกล่าวทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการได้รับการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม ป้องกันภาวะเกิดโรคซ้ำซ้อน

ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการได้รับการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง ไม่มีภาวะการเกิดโรคซ้ำซ้อน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 89,500.00 0 0.00
1 - 15 ม.ค. 64 ประเมินกลุ่มผู้พิการ, กลุ่มเปราะบาง 0 0.00 -
15 - 20 ม.ค. 64 จัดทำทะเบียนผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง 0 0.00 -
20 - 31 ม.ค. 64 สำรวจคุณภาพชีวิต, กายอุปกรณ์, ประเมิน ADL ดำเนินการตามกระบวนการ LTC พัฒนาคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต ประชุมติดตาม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประเมินผล 0 0.00 -
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดหาพัสดุ - อุปกรณ์ตามระเบียบ 0 89,500.00 -
  1. ประเมินกลุ่มผู้พิการ, กลุ่มเปราะบาง
  2. จัดทำทะเบียนผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ๓. สำรวจคุณภาพชีวิต, กายอุปกรณ์, ประเมิน ADL
  3. ดำเนินการตามกระบวนการ LTC ๕. พัฒนาคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต ๖. ประชุมติดตาม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประเมินผล ๗. สำรวจความต้องการการใช้กายอุปกรณ์
  4. จัดหาพัสดุ – อุปกรณ์ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2561 ผ่านกองทุนกายอุปกรณ์ทางทางการแพทย์ตำบล
  5. ขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยที่ต้องการใช้ทราบ
  6. ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการได้รับการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามความจำเป็น
  2. มีกายอุปกรณ์ ให้ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงได้ยืมตามความจำเป็น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2564 16:11 น.