กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2564 (ประเภท 4)
รหัสโครงการ 64-L7884-4-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 26 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 600,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 600,000.00
รวมงบประมาณ 600,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้าร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง   เทศบาลเมืองปัตตานีได้เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 47 ที่มุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้ทั่วถึงและมากขึ้น โดยเน้นการมี  ส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่ให้เข้ามาบริหารจัดการระบบสุขภาพร่วมกันอย่างแข็งขัน เกิดระบบสุขภาพชุมชนขึ้นในทุกพื้นที่   ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานภายในกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี ถูกต้องตามระเบียบ    ทางกองทุนจึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์  ของกองทุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุน ให้มีประสิทธิภาพ

การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 600,000.00 0 0.00 600,000.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองปัตตานี 0 122,000.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ 0 48,000.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 0 55,000.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแล ระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง 0 20,850.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะทำงานดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี 0 32,400.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน แกนนำสุขภาพ และเจ้าหน้าที่กองทุนฯ) 0 30,600.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ ด้านการเขียนโครงการให้แก่ ผู้ขอรับทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี (โดยจัดอบรม จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 50 คน) 0 48,800.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 0 30,000.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ ที่จำเป็นในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ 0 66,000.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าใช้จ่ายสำหรับบำรุงรักษา และซ่อมแซมครุภัณฑ์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล เมืองปัตตานี 0 20,000.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าใช้จ่ายสำหรับจ่ายค่าตอบแทนพนักงานจ้างกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล เมืองปัตตานี 0 120,000.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี 0 6,350.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 600,000.00 0 0.00 600,000.00
  1. ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. ประชาสัมพันธ์กองทุนหลักประกันสุขภาพ ฯ
  3. จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร,คณะอนุกรรมการ,และคณะทำงานต่าง ๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
  4. จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
  5. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ และครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการดำเนินงานของกองทุนฯ
  6. บันทึกข้อมูลด้านการเงิน กิจกรรมโครงการที่ผ่านการอนุมัติ สรุป และรายงานผลในโปรแกรมระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
  7. จัดอบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
  8. จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนโครงการให้แก่ผู้ขอรับทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
  9. สรุปรายงานผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี มีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้
  2. หน่วยบริการสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบเทศบาลเมืองปัตตานีมีการพัฒนาคุณภาพบริการและให้บริการตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
  4. คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานภายในกองทุนฯ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน
  5. ผู้ขอรับทุนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเขียนโครงการเพื่อขอรับทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองปัตตานี
  6. กระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
  7. มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานที่จำเป็นและเพียงพอต่อการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2564 11:14 น.