กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี
รหัสโครงการ 60-l2982-3-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ขมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่5 ต.บางโกระ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2560 - 30 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,790.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดอรอนี อุเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางเสาวลักษณ์ศรเรือง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.76,101.108place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้นโรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจาก ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุ มาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้า และ พาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริงแต่กระนั้น สำหรับประชาชนที่ไม่เคยปลูกผักเลยก็เป็นปัญหาใหญ่ ในการที่จะเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การปลูกผักด้วยตนเอง ชุมชนหมู่ 5 ตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกในบ้านสวนพอเพียงปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเอง

 

2 2.แลกเปลี่ยนความรู้และนวัตกรรมในการปลูกผักอินทรีย์ ระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง

 

3 3.อนุรักษ์พืชผักถิ่น พันธุ์พื้นเมือง และขยายพันธ์พืชที่เป็นสารอาหารให้คงอยู่ไว้

 

4 4.ศึกษาและพัฒนาร่วมกัน ในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เพื่อให้เหมาะแก่การเกษตรแบบพอเพียงโดยปราศจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆ

 

5 5.ลดรายจ่ายในครัวเรือน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ มีการวางแผนการให้ความรู้ แบ่งกลุ่มย่อย แบ่งหัวข้อโครงงาน จัดตั้งทีมงานที่เป็นผู้ประสาน รวบรวมบล็อกของสมาชิกที่ปลูกสวนครัวไว้รับประทานเองเพื่อสร้างแรงจูงใจ
  2. ขั้นปฏิบัติ รวมรวมสมาชิก เชิญวิทยากรภายนอกให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก และดูแลผักสวนครัวปลอดสารพิษ เพื่อให้สมาชิกที่ร่วมโครงการได้ศึกษาก่อนลงมือปฏิบัติ แจกจ่ายและ แลกเปลี่ยนพันธุ์ผัก กระตุ้นการนำเสนอ ของผู้เข้าร่วมโครงการ ในการแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดวิทยาการซึ่งกันและกัน จัดให้มีการนำเสนอผลผลิต อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดระยะเวลาตามความเหมาะสม 3.ขั้นประเมินผล การนำเสนอผลงานที่กำลังเพาะปลูก และ ผลผลิตที่สำเร็จแล้ว
    มีการสำรวจความก้าวหน้าของโครงการ โดยวัดจาก อัตราการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อการบริโภค (จำนวนครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ) ปริมาณ และคุณภาพของผลผลิตในการเพาะปลูกดีขึ้น 4.ขั้นปรับปรุงและพัฒนา -  มีการสรุปปัญหาที่ได้ จากการดำเนินการที่ผ่านมา โดยดูตัวชี้วัด จากการประเมินผล และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน  ส่งเสริม ให้เกิดธนาคารพันธุ์พืชสวนครัว สำหรับให้บริการสมาชิก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ส่งเสริมให้ชมรมผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพิ้นบ้านสำหรับใช้เป็นยารักษาโรค 2. ส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. เป็นแหล่งอาหารชุมชน มีผักปลอดสารรับประทาน 4. ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 5ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2560 11:59 น.