กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสวนสมุนไพรในโรงเรียน
รหัสโครงการ 64-L5232-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดประดู่หอม
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกมลวรรณ ศรีสุวรรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) เนื่องจากในบริเวณรอบ ๆ โรงเรียนมีใบไม้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการทับถมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการทับถมของใบไม้ ทำให้มีปุ๋ยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่การย่อยสลายในรูปแบบนี้ต้องใช้ระยะเวลาที่นาน จึงเกิดแง่คิดอีกรูปแบบหนึ่งว่า ควรกำจัดใบไม้เหล่านั้นทิ้งไป โดยบางคนอาจเลือกวิธีเผาใบไม้ทิ้ง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบถึงภาวะโลกร้อนที่กำลังทำความเดือดร้อนทั่วทุกมุมโลก ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สมีเทนขึ้นสู่บรรยากาศของโลกจึงคิดหาวิธีช่วยโลกในรูปแบบของปุ๋ยชีวภาพ เพื่อที่จะนำไปบำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงาม ทำให้ต้นไม้เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นต้นไม้ที่ช่วยในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สมีเทนเพื่อลดภาวะโลกร้อน     ดังนั้น โรงเรียนวัดประดู่หอม จึงได้เห็นปัญหาขยะในโรงเรียนดังกล่าวจึงจัดทำโครงการกำจัดขยะโดยการใช้สูตรปุ๋ยหมักสูตรพระราชทานซึ่งปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน เป็นการประหยัดซึ่งใช้ต้นทุนต้นน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะฉะนั้นแล้วการใช้ปุ๋ยหมักจะทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างน้อยถึงครึ่งหนึ่งสามารถกำจัดขยะลดงบประมาณการจัดการขยะและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากขยะและทำให้ดินร่วนซุย พืชผักอุดมสมบูรณ์ และเพิ่มธาตุไนโตรเจนไม่เป็นอันตรายต่อพืชสัตว์และคน รักษาความชุ่มชื้นของดิน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นวางแผน 1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องแจ้งรายละเอียดการดำเนินงานการจัดกิจกรรม 2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย     ขั้นดำเนินการ       1. ให้ความรู้ เกี่ยวกับการกำจัดขยะปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน       2. สาธิตการทำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน       3. การดำเนินการทำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน /การดำเนินการจัดหลุมสาธิต
ขั้นสรุปผล 1. ประเมินผลการทำงานของโครงการ
2. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ขั้นปรับปรุง/แก้ไข         นำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครู มีความรู้กำจัดขยะปุ๋ยหมักจากสูตรพระราชทาน
  2. นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถกำจัดขยะลดงบประมาณการจัดการขยะและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากขยะ
  3. บริเวณโรงเรียนสะอาดและปลอดขยะ
  4. ประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึงครึ่งหนึ่ง และทำให้ดินร่วนซุย พืชผักอุดมสมบูรณ์ และเพิ่มธาตุไนโตรเจนไม่เป็นอันตรายต่อพืชสัตว์และคน รักษาความชุ่มชื้นของดิน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2564 15:31 น.