กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ไข้เลือดออก ป้องกันได้ ด้วยชุมชน
รหัสโครงการ 64-L7250-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอสม.ชุมชนทหารเรือ
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 46,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร ฤทธิโชติ ตำแหน่ง ประธานอสม.ชุมชนทหารเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะเนื่องจาก โรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕-๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 ก.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 25,708 ราย เสียชีวิต 15 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ  จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกเขตชุมชน PCUชลาทัศน์ ดูแลพื้นที่ 10 ชุมชน ในเขตเทศบาลนครสงขลา ดังนี้ ปี พ.ศ. จำนวนผู้ป่วย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 2561 31 311.19 2562 19 190.72 2563 2 20.25

จากข้อมูลดังกล่าวอาสาสมัครสาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ จึงได้จัดทำโครงการไข้เลือดออก ป้องกันได้ ด้วยชุมชน เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้นในชุมชุนทั้ง 10 ชุมชนที่รับผิดชอบนี้ และให้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม. ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำลายลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง
0.00
2 2. เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้น่าอยู่
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และค่า CI = 0
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอหน่วยงาน
    1. จัดหา จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
    2. ประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    3. แจ้งผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อนัดวันเวลาออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
    4. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและหอกระจายข่าวชุมชนพร้อมทั้งสื่อต่าง ๆ 6.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ BIG CLEANING 10 ชุมชน
  2. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยการ BIG CLEANING 10 ชุมชน
    1. อสม.ทุกคน สำรวจค่า HI และ CI ในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ
    2. ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก
    1. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    2. ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้
    3. ทำให้สมารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 10:19 น.