กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บือเระ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3056-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขาฯกองทุน
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกูยะห์ มานิ๊
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบือเระ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.704,101.584place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบือเระ ได้ดำเนินการเข้าร่วมโครงการหลักประกันท้องถิ่นหรือพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดจนการป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบือเระ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาโครงการ/แผนงานทางหน่วยงานราชการและชุมชนต่าง ๆ ได้เสนอมา ตลอดจนการประสานงานตามโครงการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ พร้อมจัดทำแผนประจำปี และสรุปประเมินผลโครงการในแต่ละปี   แผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชน เพื่อประชาชนเป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่มค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและร่วมกับผลประโยชน์ โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การทบทวนในอดีตเพื่อกำหนดอนาคตการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา และการประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในเกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตัวเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผล โดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้ และเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤษติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้านที่ผสมผสานกัน อันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีดำเนินงานในหลายวิธีและใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์ จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล      มีการจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนให้แก่ หน่วยบริการ ประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง จากความสำคัญของการทำแผนสุขภาพชุมชน คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบือเระ จึงเห็นชอบ ในหลักการให้จัดทำโครงการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน  ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบือเระจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 69 31,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 1. โครงการการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บือเระ 19 19,000.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 2. การจัดทำแผนสุขภาพชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565 50 8,050.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 3. ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าเดินทางไปราชการ ฯลฯ 0 3,950.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนที่ปรึกษาและคณะกรรมการค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดประชุมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ 4. ส่งหนังสือหน่วยงานและกลุ่มองค์กรเข้าร่วมประชาคม 5. ให้วิทยากรที่มีความรู้เรื่องแผนแนะนำรายละเอียดการจัดทำแผนชุมชน
6. ประชาคมเพื่อให้หน่วยงานต่างเสนอโครงการเข้าแผน 7. สรุปโครงการในแผน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากคณะกรรมการกองทุนฯ ในการเข้าร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจและได้รับทราบปัญหาและหาทางแก้ไขร่วมกัน
  3. กองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบือเระ มีแผนมีพัฒนาสุขภาพและแผนปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหาร กองทุนฯ
  4. หน่วยงานและกลุ่มองค์กรเข้าใจในการทำแผนกองทุนตำบล เสนอโครงการเพื่อสุขภาพเข้าขอรับเงินจากกองทุน โครงการ ตามแผนสามารถทำให้ประชาชนในตำบลกาหลงมีการดูแลสุขภาพที่ดี
  5. รับทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการป้องกันปัญหาสุขภาพการบำบัดการฟื้นฟูสุขภาพและ การรักษาเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 11:52 น.