กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงหมู่ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงหมู่ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนา
รหัสโครงการ 64-L1498-2-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำผุด
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำผุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.673,99.726place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรคไม่ติดต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นั้น เป็นชื่อเรียก กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการใช้ชีวิต ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่าง เหล้า บุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักจะค่อยๆ มีอาการและรุนแรงขึ้นทีละน้อยหากไม่ได้มีการรักษาควบคุม กลุ่ม อสม.หมู่ 2 บ้านทุ่งนา เล็งเห็นว่าโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พบว่าการคัดกรองประชากร 35 ปีขึ้นไปของหมู่ที่ 2 นั้นพบกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 20.48 และมีกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ21.92 ซึ่งหากไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลติดตามอาจนำไปสู่การเกิด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ตามลำดับ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ โดยมีแนวโน้มการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ส่วนมากเป็นกลุ่มประชากรวัยทำงาน แต่แท้จริงแล้ว กลุ่มโรค เรื้อรัง(NCDs Xนั้นสามารถป้องกันได้ เพราะ สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้น เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของตัวเรานั่นเอง
  จากสถานการณ์ของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณบ้านทุ่งนา ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้ำผุด จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงหมู่ 2 ตำบลน้ำผุดขึ้น เพื่อเให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองและติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้า 7 วันในกลุ่มเสี่ยงสูง ประชาชนได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้ลดการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อประชาชนกลุ่ม 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองและกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตครบ 7 วัน ข้อที่ 2.เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคไม่ให้ป่วยเป็นโรค

ตัวชี้วัดความสำเร็จ --ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับรับการตรวจคัดกรอง -กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน - กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอย่างต่อเนื่อง - ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานละความดันโลหิตสูง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการฯจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้ำผุด 2.ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อชี้แจง  ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.จัดหาวัสดุ ในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก) 4.แบ่งกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ลงพื้นที่ และดำเนินการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชน 5.อสม.ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน แก่กลุ่มเสี่ยงที่มีความดันโลหิตสูงครบ 7 วัน 5.สรุปผลการคัดกรอง โดยแยกประเภทของ กลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง 6.จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและตรวจวัดความเค็มในอาหาร
7.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย 2.ประชาชนกลุ่มป่วยและเสี่ยงได้รับการดูแลรักษา ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
3.ประชาชนมีความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค ลดโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 15:20 น.