กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คัดกรองและบำบัดผู้สูบบุหรี่ สุราในชุมชนเขต อบต.ตุยง ปี 64
รหัสโครงการ 64-L3065-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลหนองจิก
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 15,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริพร จินดารัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837636,101.173525place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560 ในกลุ่มที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด 10.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.1 จากประชากรทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำถึง 9.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.8 และสูบเป็นครั้งคราว 1.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.3 ส่วนผู้ที่เคยสูบแต่เลิกแล้วพบเพียง 3.7 ล้านคน ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำนั้นมากกว่าครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 61.7 ของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ สูบบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงาน รองลงมาสูบบุหรี่มวนเอง ร้อยละ 55.4 เมื่อพิจารณาอัตราการสูบบุหรี่ตามกลุ่มวัย พบว่า กลุ่มวัยทำงาน (25-59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด ร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน (15-24 ปี) ร้อยละ16.6 และ 14.7 ตามลำดับ และเมื่อจำแนกรายภูมิภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราการสูบบุหรี่สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น โดย มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด 1.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27.1 จากประชากรทั้งหมด ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีจำนวน 1.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 54.3 จากคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานีมีผู้สูบบุหรี่อายุ 15 ปีขึ้นไป มากเป็นอันดับที่ ๑๑ ของประเทศไทย อัตราร้อยละ 23.40 และการดื่มสุราเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อสุขภาพกายและจิต พฤติกรรมการดื่มที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหรืออันตรายทั้งต่อตัวผู้ดื่มเอง ครอบครัวและสังคม จากข้อมูลรายงานภาวะโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย 2557 พบว่า การเสพติดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะจากภาวะบกพร่องทางสุขภาพ (Years due to Disability) เป็นอับดับหนึ่งในเพศชาย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และจากผลการสำรวจปัญหาสุขภาพจิตในคนไทย พบคนไทยอายุ ๑๘ ปีขึ้นไปที่มีความผิดปกติพฤติกรรมสุราหรือ alcohol use disorders ๒.๗ ล้านคน โดยเป็นผู้ดื่มแบบอันตราย ๑.๘ ล้านคน และเป็นผู้ดื่มแบบติด ๙ แสนคน แต่ในจำนวนนี้เข้ารับบริการสุขภาพเพียงร้อยละ ๖.๑๓ แสดงถึงช่องว่างการเข้าถึงบริการของผู้มีปัญหาการดื่มสุราที่สูงมาก และอัตราการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปในจังหวัดปัตตานี อัตราร้อยละ ๓.๙ จากการดำเนินงานบุหรี่ของโรงพยาบาลหนองจิกในปี 256๒-๒๕๖๓ ได้มีการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในตำบลตุยง จำนวน ๗,๓๑๘ คน , ๗,๓๖๒ คน พบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ มีจำนวน 1,865 คน , ๑๕๖๖ คนร้อยละ 2๕.๔๘, ๒๑.๒๗ของประชากรที่สำรวจ โดยผู้สูบส่วนใหญ่เป็นผู้สูบเป็นประจำทุกวัน จำนวน 988 คน , ๘๐๒ คนร้อยละ52.97 , ๕๑.๒๑ ผู้ที่สูบนานๆ ครั้ง จำนวน 877 คน , ๗๖๔ คน ร้อยละ 47.03 , ๔๘.๗๘ จากการสำรวจสถานที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย พบว่า ในชุมชนมีสถานที่ต้องเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย จำนวน92 แห่ง แต่ยังมีร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ 58 แห่ง ซึ่งพบว่า ร้านค้าส่วนใหญ่ยังจำหน่ายบุหรี่ให้กับเด็กและมีการลักลอบนำบุหรี่จากประเทศเพื่อนบ้านมาจำหน่ายในราคาถูก จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้คนในชุมชนสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นและการสูบบุหรี่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังซึ่งส่งผลกระทบในระยะยาว และงานสุรายังไม่มีการสำรวจผู้ดื่มอย่างจริงจัง รวมทั้งคัดกรองผู้ดื่มสุราในชุมชนเพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด
ดังนั้นโรงพยาบาลหนองจิก ได้เห็นความสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังจากการสูบบุหรี่ ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูบบุหรี่รายเก่าในชุมชน โดยนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดและให้คำปรึกษา ติดตามพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้คนในชุมชนสามารถเลิกบุหรี่ได้และเป็นบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ และผู้ดื่มสุราได้รับการคัดกรองปัญหาการดื่มสุรา ให้คำแนะนำปรึกษาเบื้องต้นในชุมชน ส่วนผู้ติดสุราได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาการดื่มสุราต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองผู้สูบบุหรี่และสุรา สามารถให้คำแนะนำวิธีการเลิกบุหรี่และสุราได้ระดับเบื้องต้น

ร้อยละ ๘๐ ของอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองผู้สูบบุหรี่และสุรา สามารถให้คำแนะนำวิธีการเลิกบุหรี่และสุราได้ระดับเบื้องต้น

0.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่และผู้ดื่มสุราในชุมชนได้รับการคัดกรองและเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในคลินิกอดบุหรี่และสุราสัญจร

ร้อยละ ๑๐0 ของผู้สูบบุหรี่และสุราในชุมชนได้รับการคัดกรองและเข้าบำบัดในคลินิกอดบุหรี่และสุราสัญจรอย่างต่อเนื่อง

0.00 100.00
3 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีการติดตามพฤติกรรมผู้สูบบุหรี่และดื่มสุราในชุมชน

ร้อยละ ๓0 ของผู้สูบบุหรี่และสุราที่เข้าคลินิกอดบุหรี่และสุราสัญจรในชุมชน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

0.00 30.00
4 เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในระดับการติดบุหรี่และสุราในชุมชนได้รับการส่งต่อในโรงพยาบาล

ร้อยละ ๕๐ ของผู้ติดบุหรี่และสุราได้รับการส่งต่อในโรงพยาบาล

0.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,600.00 2 15,600.00
1 มี.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 สร้างเครือข่าย ก้าวทันข้อมูลในพื้นที่ 0 9,100.00 9,100.00
1 มี.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 คัดกรองกลุ่มเป้าหมายเพื่อการบำบัด 0 6,500.00 6,500.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 รุกพื้นที่ ติดตามพฤติกรรมการเสพ ดื่ม ของกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 สรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ ๑. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขในเขต อบต.ตุยง และเจ้าหน้าที่ให้การบำบัดเพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงาน ๒. ประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อคัดกรองผู้สูบบุหรี่และดื่มสุรา ให้การบำบัดในชุมชน ๓. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขในเขต อบต.ตุยง เพื่อติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และสุราอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูบบุหรี่และสุราเข้าถึงบริการคลินิกอดบุหรี่และสุราสัญจร ทำให้เกิดบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่และสุราในชุมชน ๒. เกิดระบบการเฝ้าระวังการสูบบุหรี่และดื่มสุราของคนในชุมชน มีมาตรการของชุมชนเพื่อถือปฏิบัติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 09:44 น.