กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยสุขภาพดี ใสใจการรับวัคซีน ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4147-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 57,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลฮาเร็ม ซีระแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 576 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ปกครองเด็ก อสม. มีความรู้ในเรื่องวัคซีน (ร้อยละ) 90
80.00
2 ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็ก อายุ 0 – 5 ปี (ร้อยละ) 90
80.00
3 เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่พบการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน (ร้อยละ) 100
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทย และในตำบลบาโงยซิแน ควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้ว หมู่บ้าน ชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จะต้องให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องเพื่อป้องกันประชาชนให้ห่างไกลจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอีกทั้งเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนเพื่อเพิ่มความตระหนักในการพาบุตรมารับวัคซีนตามเกณฑ์
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโงยซิแน อำเภอจังหวัดยะลา ในรอบปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมาปรากฏว่า ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 0-5 ปี ที่มารับบริการฉีดวัคซีนคือ ร้อยละ 91.01 ซึ่งสูงกว่าปี 2562 คือ ร้อยละ 90.52 แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายของประเทศ คือ ร้อยละ 95 จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มเป้าหมายในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็ก 0 – 5 ปี
  1. ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็ก อายุ 0 – 5 ปี (ร้อยละ) 90
  2. อัตราป่วยในเด็กอายุ 0-5 ปี สามารถป้องกันโรคจากการป้องกันด้วยวัคซีนไม่เกิน (ร้อยละ) 10
88.00 90.00
2 1. ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็ก อายุ 0 – 5 ปี (ร้อยละ) 90 2. อัตราป่วยในเด็กอายุ 0-5 ปี สามารถป้องกันโรคจากการป้องกันด้วยวัคซีนไม่เกิน (ร้อยละ) 10
  1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ร้อยละ) 90
80.00 90.00
3 เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

ร้อยละ 70 ของแกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 57,300.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 สำรวจ ประชาสัมพันธ์รณรงค์ สร้างกระแส และการติดตามการรับวัคซีน 0 20,000.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมผู้ปกครอง และ แกนนำ อสม. 0 17,500.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดกิจกรรมมอบเกียรติบัตรแก่เด็ก 0-5 ปี ที่รับวัคซีนครบตามเกณฑ์เพื่อเป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ และถอดบทเรียน 0 19,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็ก อายุ 0 – 5 ปี ร้อยละ 90
2.ผู้ปกครองเด็ก และอสม. มีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ร้อยละ 90
3.เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่พบการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 00:00 น.