กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่เารือ
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 ธันวาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ” เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก
ข้อมูลสถิติโรคไม่ติดต่อของจังหวัดสตูล พบอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๓ เป็น ๔๙๓.๙๘,๕๕๗.๕๑,๕๙๖.๐๐,๕๖๕.๙๖, ๗๐๒.๐๗,และ ๖๙๔.๒๐ ตามลำดับ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๕) จากสถิติ พบว่า อัตราป่วยของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และจากการให้บริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ พบว่า อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ปีงบประมาณ ๒๕๖๑-๒๕๖๓ ร้อยละ ๑๐.๓๔, ๑๓.๓๓, และ ๖,๒๕ ตามลำดับ จากสถิติ พบว่า ผู้ป่วยมีความสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ลดลงและอัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ปีงบประมาณ ๒๕๕๖๑-๒๕๖๓ ร้อยละ, ๔๔.๗๑, ๔๓.๖๓, และ๒๑.๙๒ ตามลำดับ จากสถิติ พบว่า ผู้ป่วยมีความสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ลดลง ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นโรค ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการควบคุมระดับความดันโลหิตสูง ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แก่ผู้ป่วย ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งครอบครัวและชุมชนจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ร่วมรับรู้ในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันกลุ่มป่วยให้มีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อน ซึ่งจะทำให้สูญเสียชีวิตได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความรู้ ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน/ผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจในโรค ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ร้อยละ ๔๐ ของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

0.00
4 ข้อที่ 4เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ข้อที่ 4เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 9,000.00 0 0.00
28 ธ.ค. 63 - 31 ส.ค. 64 ๑. กิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจกิจกรรมให้ความรู้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงป้องกันภาวะแทรกซ้อน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคเรื้อรัง 40 9,000.00 -

๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ตำบลท่าเรือ ๑.๒ ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกิจกรรมโครงการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ๒. ขั้นดำเนินงาน
๒.๑ กิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจ กิจกรรมให้ความรู้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโภชนาการ และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน โรคหลอดลือดสมอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคเรื้อรัง การดูแลตนเองขณะเป็นโรคแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
๒.๒ กิจกรรมตรวจวัดความดันโลหิต/ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอบรม
๒.๓ อบรมบรรยายในหัวข้อ ดังนี้
๒.๓.๑ โรคความดันโลหิตสูง - อาการของโรคความดันโลหิตสูง - วิธีการดูแลตนเองและวิธีการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง - ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง ๒.๓.๒ โรคเบาหวาน - อาการของโรคเบาหวาน - วิธีการดูแลตนเองและวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน - ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ๒.๓.๓ โภชนาการกับโรคเรื้อรัง - กินอย่างไรห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน - วิธีการเลือกอาหารเพื่อควบคุมความดันโลหิต ควบคุมเบาหวาน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ๒.๓.๔ โรคหลอดเลือดสมอง stroke fast track (ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง) ๒.๔ ประชาสัมพันธ์อาการ stroke fast track (ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง)ในชุมชนที่ต้องพบแพทย์โดยด่วน ๒.๕ เคาะประตูบ้านผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
๓. ขั้นติดตามและประเมินผล ๓.๑ สรุปและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ร้อยละ ๘๐ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในโรค ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ๒. ลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๓. มีแนวทางพัฒนางานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 11:12 น.