กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน หมู่ที่ 5-12 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3323-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมราอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 9,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุภา ธนนิมิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคขาดสารไอโอดีนเป็นโรคที่มีความสำคัญทางสาธารณสุข เกิดจากการได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย สารไอโอดีนมีความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับการทำงานของท่อมไทรอยด์ มีผลทำให้เกิดพยาธิสภาพสำคัญหลายประการ กล่าวคือ เพื่อนำไปสร้างฮอร์โมนไทรรอยด์ ภาวะพล่องฮอร์โมนไทรรอยด์ เกิดขึ้นในเด็กแรกเกิด เรียกว่า ภาวะเอ๋อ แม่ที่ขาดไอโอดีนในขณะตั้งครรภ์ ลูกที่คลอดออกมาจะมีภาวะฮอร์โมนไทรรอยด์ต่ำตั้งแต่แรกเกิด อาจจะทำให้ทารกตาย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้ง หรือพิการ ซึ่งเมื่อเติบโตมีอาการที่ชัดเจน เช่น มีปัญญาเสื่อม ใบ้ หูหนวก ตาเหล่ มีรูปร่างแคระแกร็น สติปัญญาต่ำมาก ผิวหนังหนา ในการแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีน กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินโครงการโรคขาดสารไอโอดีน โดยการว่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน โดยการส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนหรือเกลือนามัย การบริโภคน้ำดื่มไอโอดีนในครัวเรือน และในโรงรเียน การบริโภคน้ำปลาเสริมไอโอดีนและในพื้นที่ที่มีอัตราผู้ป่วยด้วยโรคขาดสารไอโอดีนสูง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะให้รับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีน ถึงกระนั้นปัญหาการขาดสารอาหารไอโอดีนก็ยังไม่ลดลงเท่าที่ควร ส่วนภาคใต้ถึงแม้จะมีแหล่งไอโอดีนอยู่มาก แต่ก็ยังพบเด็กขาดสารไอโอดีนอยู่ ชมรมอาสาสมัครตำบลพนางตุง จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้กับครัวเรือนในการปรุงอาหารโดยใช้เกลือเสริมไอโอดีน
  1. ประะชาชนทุกครัวเรือนได้รับความรู้
0.00
2 2. เพื่อประชาชนสัมพันธ์โรคขาดสารไอโอดีน การป้องกันและอันตรายที่จะเกิดขึ้น
  1. ทุกหมู่บ้านมีป้ายประชาสัมพันธ์ ความรู้ไอโอดีน
0.00
3 3. เพื่อขับเคลื่อนงานควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชน หมู่บ้าน
  1. อสม. มีความรู้ และเป็นแกนนำขับเคลื่อนงานในชุมชน หมู่บ้านได้
0.00
4 4. รณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนมีความเข้าใจ และส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีน และทำความเข้าใจผลเสียของการขาดไอโอดีน
  1. อสม. เป็นแกนนำ และรณรงคื การใช้เกลือเสริมไอโอดีน ในชุมชนและหมู่บ้านได้
0.00
5 5. เพื่อให้ร้านค้าในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจ และใส่ใจที่จะนำเกลือเสริมไอโอดีน มาขายในชุมชน
  1. ร้านค้า รู้ เข้าใจ และมีเกลือไอโอดีนที่มีคุณภาพในร้านค้า
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,100.00 0 0.00
4 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 1. เขียนโครงการและแผนงานเพื่อขออนุมัติโครงการ ขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 0 0.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 2. ชี้แจงโครงการและระยะเวลาดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่/อสม./ผู้นำชุมชน/เทศบาล/และประชาชนในพื้นที่ 0 0.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 3. ขั้นตอนดำเนินการ -ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีน -ตรวจสอบคุณภาพเกลือไอโอดีนในครัวเรือน 0 9,100.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมชี้แจง อสม. และผู้นำชุมชในหมู่บ้าน 1.2 ค้นหาแหล่งข้อมูลอ้างถึง เช่น จำนวนร้านค้าในชุมชน
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านหอกระจายข่าว 2.2 จัดทำป้ายให้ความรู้เรื่องของไอโอดีนแก่ประชาชน 2.3 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องไอโอดีนแก่ตัวแทนครัวเรือน
    2.4 แบ่ง อสม. ให้รับผิดชอบสำรวจตรวจคุณภาพเกลือไอโอดีนในแต่ละบ้านในละแวกรับผิดชอบของตน
  3. ติดตามและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีและใช้เกลือเสริมไอโอดีน
  2. สร้างกระอสการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน
  3. ประชาชนมีความรู้เรื่องไอโอดีน และเห็นความสำคัญของการบริโภคเลือเสริมไอโอดีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 11:36 น.