กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขผู้สูงวัย สุขกายสุขใจไม่ทิ้งกัน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุสถานีอนามัยบ้านท่ามะเดื่อ
วันที่อนุมัติ 25 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ร.ต.ต.คมกริช แท่นประมูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้น จำนวนผู้สูงอายุจึงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากภาวะนี้ทำให้เกิดความตื่นตัวและเตรียมการเพื่อรองรับและให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้มากขี้น จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาหลายๆด้าน เช่น ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังหรือสังคมให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุน้อยลง ประกอบผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องเป็นภาระแก่ผู้อูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด นอกจากนั้นยังพบว่ามีผู้สูงอายุในชุมชนส่วนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ขาดผู้ดูแลทั้งที่บางรายมีโรคประจำตัวและช่วยเหลือตัวเองได้น้อยสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานที่เหมาะสม ในการป้องกันและแก้ปัญหาที่จะตามมาเช่นการส่งเสริมสุขภาพ การปรับตัว การมีบทบาทในสังคมอย่างต่อเนื่องและการมีศักยภาพเพื่อการเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและพึ่งตนเองได้โดยมีครอบครัวและชุมชนคอยช่วยเหลือสนับสนุชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการสร้างสุขผู้สูงวัยสุขกายสุขใจไม่ทิ้งกัน ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม ให้แก่ผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและภาคีเครือข่าย พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ร่วมพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนสมาชิกและมีการช่วยเหลือกันในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้อย่างปกติสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับความรู้และสร้างทักษะการดูแลสุขภาพและใจที่เหมาะสม 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตมีการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชน 3.เพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำโครงการ 2.เสนอโครงการต่อคณะกรรมการ สปสช.ทต.บางแก้ว เพื่ออนุมัติ 3.ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมคณะทำงานชี้แจงโครงการมอบหมายหน้าที่และวางแผนการดำเนินงาน 4.ดำเนินงานตามโครงการ 4.1ประชาสัมพันธ์โครงการ/รับสมัครสมาชิกใหม่ 4.2กิจกรรมพบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านสุขภาพ ด้านสังคมและด้านอื่นๆ -กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ -กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย -กิจกรรมปฏิบัติธรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเข้าวัดฟังธรรมเดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันที่ 20 ของเดือน -กิจกรรมนันทนาการ ร่วมรำกลองยาว -กิจกรรมสำคัญในชุมชน ทำบุญขอพร ปีใหม่ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ถวายเทียนพรรษา 4.3พัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายเพื่อนสูงวัยไม่ทิ้งกัน อบรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลเพื่อนสูงวัยในชุนชน เพื่อเป็นแกนนำดูแลเพื่อนสมาชิกในชุมชน 5.กิจกรรมเยี่ยมบ้านให้กำลังใจผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้สูงอายุด้อยโอกาสในชุมชน 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ สปสช.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ 2.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวและชุมชน 3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุข 4.ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อนสมาชิกมีการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชน 5.มีแกนนำจิตอาสาผู้สูงอายุร่วมกันกับเครือข่ายสุขภาพในชุมชนร่วมกันดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 6.มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมต่อเนื่องมีการเชื่อมประสานกับเครือข่ายและหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 13:09 น.