กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานความดัน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ
วันที่อนุมัติ 25 พฤศจิกายน 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2021 - 31 สิงหาคม 2021
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกฤติยา ขำมริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศ ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแลส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา-มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะเบาหวานก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมาก ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อมเช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูงบุหรี่จัดดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูง และมักไม่ค่อยรู้ตัว ซึ่งโอกาสจะเกิโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง และเบาหวานก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมองและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหติสูงและเบาหวานว่าเป็น "ภัยเงียบ" สถานการณ์โรคเบาหวานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยจากการพิจารณาสถานการณ์ความซุกของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัย และขึ้นทะเบียนจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวาน ในสถานบริการภาครัฐ จากแหล่งข้อมูล 43 แฟ้มพบว่าค่าความซุกในปี พ.ศ. 2562 เท่ากับร้อยละ 4.69และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องกระทั่งปี พ.ศ. 2563 มีแนวโน้มที่ช้าลง ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ที่มีแนวโน้มลดลงกระทั่งปีพ.ศ.2563 มีอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่เท่ากับร้อยละ0.45 สถานการณ์ประเทศไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยจากการพิจารณาสถานการณ์ความซุกของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัย และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2562 และลดลงในปี พ.ศ.2563 มีอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ เท่ากับร้อยละ 0.89 เมื่อพิจารณาการกระจายตามเขตบริการ สุขภาพ จากข้อมูลฐานบริการ 43 แฟ้ม พบว่าความซุกของความดันโลหิตสูงสุดที่เขตบริการสุขภาพที่ 1,2และ3 ปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังคงเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนไทยถึงแม้ว่า แนวโน้มของความซุกจะไม่เพิ่มขึ้นมาก แต่พบว่าผู้ป่วยทั้งเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มที่จะมีภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น ทั้งภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดสมองภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจ และภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อน ทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขี้นมากกว่า 2 เท่าตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากสาเหตุจากระยะเวลาในการเจ็บป่วย ที่นานขึ้นแล้ว การเข้าถึงบริการ และคุณภาพการบริการก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อผลลัพธทางสุขภาพ จากการวินิจฉัยที่ถูกต้องทันเวลา และให้การรักษาส่งต่อที่เหมาะสม และปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลในระบบปฐมภูมิ พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดี ในปี พ.ศ. 2561,2562 และ2563 คิดเป็นร้อยละ 19.57,47.83และ45.76 ตามลำดับ ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมโรคให้อยู้ในระดับปกติและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูแลตนเองไม่ป่วยดัวยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 3.เพื่อให้กลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต/ระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ 4.เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ 3.จัดตั้งทีมงานและมอบหมายผู้รับชอบ 4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 2 พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย กลุ่มเสี่ยง -พบกลุ่มแลกเปลี่ยนรู้การปรับพฤติกรรม การบริโภคอาหารการปลูกผักกินเอง การออกกำลังกายพบกลุ่มเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ติดตามวัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลในเลือดเชิงรุกที่บ้าน กลุ่มป่วย -พบกลุ่มแลกเปลี่ยนรู้การปรับพฤติกรรม การบริโภคอาหารการปลูกผักกินเอง การออกกำลังกายพบกลุ่มเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ควบคุมโรคไม่ได้ 5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตรการเกิดภาวะแทรกซ้อน 3.ลดอัตรการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่ 4.มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชนทีมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2021 14:03 น.