กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การจัดการขยะมูลฝอยในเรือนจำ เพื่อลดและควบคุมการป้องกันโรค
รหัสโครงการ 64-L3013-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เรือนจำกลางปัตตานี
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กุมภาพันธ์ 2564 - 20 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 20 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 77,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิชาญ ศรีวิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 ก.พ. 2564 20 เม.ย. 2564 77,750.00
รวมงบประมาณ 77,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
2,000.00
2 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยเรือนจำกลางปัตตานี จังหวัดปัตตานี มีจำนวนผู้ต้องขัง ประมาณ 2,800 คน ส่งผลให้มีปริมาณขยะมูลฝอยประเภท ขยะอินทรีย์ เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากไม่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อสุขภาพและงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และด้วย Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนมุมมองและปรับแนวคิดในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ให้ความสำคัญกับการลดขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการผลิตขยะมูลฝอยน้อยที่สุด และนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค เป็นการป้องกันและควบคุมการเกิดโรค เรือนจำกลางปัตตานี จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด เป็นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและลดภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังในเรือนจำกลางปัตตานี จึงได้จัดโครงการการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อสุขภาวะของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังเรือนจำปัตตานี จังหวัดปัตตานี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในเรือนจำกลางปัตตานี

อัตรารัอยละของขยะมูลฝอยในเรือนจำลดลง

50.00
2 เพื่อลดและควบคุมป้องกันโรคเกิดจากการหมักหมมของขยะมูลฝอย

ไม่มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเกิดจากการหมักหมมของขยะ

1.00
3 เพื่อเป็นการกระตุ้น และปลูกฝังจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด

ร้อยละ ของผู้ถูกคุมขังมีจิตสำนึกกการรักษาความสะอาด

80.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

2000.00
5 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

4.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 ก.พ. 64 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการคัดแยกขยะ 56 13,350.00 13,350.00
25 - 27 ก.พ. 64 รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกและลดปริมาณขยะมูลฝอย 2000 5,000.00 5,000.00
9 มี.ค. 64 - 9 เม.ย. 64 ร่วมปรับปรุงสภาพแวดล้อมในเรือนจำ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะอินทรัย์ 50 59,400.00 59,400.00
รวม 2,106 77,750.00 3 77,750.00
  1. ขั้นเตรียมการ

1.1 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ

1.2 แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ

1.3 ประชุมคณะทำงาน

1.4 ประชุมชี้แจงและประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่

1.5 ประชาสัมพันธ์โครงการ

  1. ขั้นดำเนินการ

2.1 กิจกรรมเรือนจำปัตตานี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

  1. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด

2.2 กิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกและลดปริมาณขยะมูลฝอย

  1. จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์

  2. ดำเนินการติดตั้งป้าย ณ จุดต่างๆ ในชุมชน

2.3 กิจกรรมทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์
1. ให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ โดยวิทยากร

  1. รวบรวมขยะอินทรีย์จากโรงครัว

  2. คัดแยกขยะอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ

  3. ผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์

2.4 กิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์

  1. ให้ความรู้การทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ โดยวิทยากร

  2. คัดแยกขยะอินทรีย์เพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ

  3. ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์

  4. ขั้นประเมินผล

1.1 ประเมินผลการดำเนินงาน

1.2 รายงานผลการดำเนินงาน

1.3 สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังมีความรู้และทักษะการจัดการขยะแต่ละประเภท
  2. ลดปริมาณขยะมูลฝอยและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง
  3. สิ่งแวดล้อมภายในเรือนจำกลางปัตตานี มีความสะอาด ปราศจากมูลฝอย
  4. ลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 09:45 น.