กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ L1473-64-01-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 85,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพัตรา ชุมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจารีพันธ์ ฝันนิมิตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่พบในประเทศเขตร้อน และเขตอบอุ่นโดยเฉพาะในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลาตินอเมริกา หมู่เกาะแคริบเบียน และหมู่เกาะแปซิฟิก สำหรับ ประเทศไทย โรคนี้ส่วนใหญ่ พบในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี ปัจจุบันเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกซึ่งกำลังแผ่ระบาดอย่างหนัก และได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งนำความสูญเสียแก่หลายครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติที่ต้องสูญเสียบุคลากรที่ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน อันเป็นอนาคตของประเทศต่อไป
จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 ตุลาคม 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม จำนวนทั้งสิ้น 464 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 73.91 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.32 ต่อแสนประชากร อัตราผู้ป่วยตาย ร้อยละ 0.43 อำเภอนาโยง 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 38.11 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราตาย 2.24 ต่อแสนประชากร อัตราผู้ป่วยตาย ร้อยละ 5.88 และตำบลโคกสะบ้าไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบเพศชาย 249 ราย เพศหญิง 215 ราย อัตราส่วนเพศชาย ต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.16 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 156 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 25 - 34 ปี, 10 - 14 ปี, 35 - 44 ปี, 5 - 9 ปี, 45 - 54 ปี, 55 - 64 ปี, 0 - 4 ปี และ 65 ปี ขึ้นไป จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 74, 73, 56, 35, 28, 15, 14 และ 13 ราย ตามลำดับ
อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 216 ราย รองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง, อาชีพนปค., อาชีพเกษตร, อาชีพค้าขาย, อาชีพงานบ้าน, อาชีพราชการ, อาชีพอื่นๆ, อาชีพนักบวช, อาชีพประมง, อาชีพทหาร/ตำรวจ, อาชีพบุคคลากรสาธารณสุข, อาชีพอาชีพพิเศษ, อาชีพเลี้ยงสัตว์, อาชีพครู, จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 104, 61, 49, 13, 9, 5, 4, 1, 1, 1, 0, 0, 0, 0, ราย ตามลำดับ
    พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือน กรกฎาคม จำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 161 ราย จำนวนผู้ป่วยเดือนนี้ (กันยายน) น้อยกว่าเดือนที่แล้ว (สิงหาคม) จำนวนผู้ป่วยเดือนนี้ (กันยายน) เท่ากับ 29 ราย ส่วนเดือนที่แล้ว (สิงหาคม) เท่ากับ 94 ราย โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือนมกราคม 18 ราย กุมภาพันธ์ 14 ราย มีนาคม 10 ราย เมษายน 24 ราย พฤษภาคม 40 ราย มิถุนายน 74 ราย กรกฎาคม 161 ราย สิงหาคม 94 ราย กันยายน 29 ราย
      พบผู้ป่วยในเขตเทศบาลเท่ากับ 68 ราย ในเขตองค์การบริหารตำบลเท่ากับ 395 ราย และไม่ทราบเขต เท่ากับ 0 ราย พบผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมากกว่าในเขตเทศบาล โดยจำนวนผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เท่ากับร้อยละ 85.31 ส่วนผู้ป่วยในเขตเทศบาล เท่ากับร้อยละ 14.69 จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่ยังคงมีแนวโน้มการเกิดโรคในทุกๆ ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ร้อยละ 90 บรรลุตามวัตถุประสงค์

90.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า

ร้อยละ 90 บรรลุตามวัตถุประสงค์

90.00
3 เพื่อให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมโรคฯ ที่พร้อมในการใช้งานอย่างรวดเร็วและทันท่วงที

1 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่ น้อยกว่าร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (ปี พ.ศ.2559 - 2563) และอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 0.10 2 ค่า HI ไม่เกิน 5 และค่า CI ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด อบต. รพ.สต. = 0

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 126 171,200.00 1 85,600.00
18 ม.ค. 64 ควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2564 0 85,600.00 -
20 ก.ย. 64 โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564 126 85,600.00 85,600.00

1 เสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โคกสะบ้า
2 จัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์ป้องกัน สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3 ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ ก่อนการระบาดโดยการสำรวจ โดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 4 ดำเนินการติดป้ายสื่อประชาสัมพันธ์ และแห่รถประชาสัมพันธ์ในช่วงรณรงค์วันไข้เลือดออกอาเซียน 5 ควบคุมทำลายยุงตัวแก่โดยการพ่นสารเคมีด้วยเครื่องพ่นหมอกควัน กรณีเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก 6 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค แนวทางพัฒนาเพื่อปรับปรุงและวางแผนการดำเนินงานปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า ปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยยุงลาย 2 โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า ได้รับการควบคุมโรคทันท่วงที 3 โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ไม่ระบาดในชเขตพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า 4 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี ๒๕๖4 ในพื้นที่ตำบลโคกสะบ้าลดลง 5 ประชาชนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เกิดมาตรการทางชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชุมชนปลอดโรคต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 10:47 น.