กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยง

เทศบาลตำบลตันหยง

เขตเทศบาลตำบลตันหยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ส่วนถ้าคลอดก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์จะเรียกว่า “แท้ง” เพราะฉะนั้น คำว่า “คลอดก่อนกำหนด” คือการคลอดในช่วงอายุครรภ์ 24-36 สัปดาห์กับ 6 วัน อันตรายจาการคลอดก่อนกำหนด มีโอกาสเสียชีวิตสูงมากรวมถึงยังมีโอกาสที่จะพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ปอดทำงานไม่ดีมีภาวะเลือดออกในสมอง และมีภาวะเลือดออกในลำไส้้ ปัจจุบันคุณแม่จำนวนไม่น้อยกลับต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ต่าง ๆ มากมายที่จัดว่าเป็นภาวะครรภ์เสี่ยงที่อาจมีผลต่อชีวิตน้อย ๆ ในครรภ์หรือสุขภาพของตัวคุณแม่เอง สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ที่สำคัญสำหรับเรื่องของการตั้งครรภ์ก็คือ การคลอดก่อนกำหนด จากข้อมูลเราพบว่าอุบัติการณ์ของการคลอดก่อนกำหนดนั้น พบได้ถึง 10 % จากการคลอดของสุภาพสตรีหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีถึง 12 % จากการคลอดทั่วประเทศ ในเขตเทศบาลตำบลตันหยง พบคลอดก่อนกำหนด 1 รายแต่ทั้งนี้การคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ สามารถลดความเสี่ยงภาวะคลอดก่อนกำหนด อาทิ ความเครียด การทำงานหนัก การยืนหรือเดินนาน ๆ การพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้เหมาะสม เสี่ยงการเดินทางบ่อยเพราะอาจติดเชื้อได้ง่าย และการรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์
ด้วยคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อขับเคลื่อนและบูรณาการการทำงานร่วมกันในระบบส่งเสริมสุขภาพและดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์
เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดของประเทศ ดังนั้นเทศบาลตำบลตันหยง จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ปี 2566 ขึ้น เป็นการปฏิบัติทุกภาคส่วนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะการคลอดก่อนกำหนด

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด=0

60.00 100.00

1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและสามารถป้องกันตนเองได้
2.เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
2.เพื่อลดอัตราภาวะคลอดก่อนกำหนดในพื้นท่ี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 36
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุข 23

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมจัดทำแผนดำเนินการ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 12 x35 บาท เป็นเงิน 420บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 8 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนดำเนินการโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
420.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่อง การเฝ้าระวังคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง การเฝ้าระวังคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม ให้ความรู้ เรื่องการเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนด แก่หญิงตั้งครรภ์ (36คน) แก่อสม. (23) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม59 x 35 x 2 เป็นเงิน 4,130 บาท ค่าอาหารกลางวัน 59 x 50 เป็นเงิน 2,950 บาท เอกสารอุปกรณ์ -ปากกา 59 x 7 บาทเป็นเงิน 413บาท -สมุดปกอ่อน59 x10บาทเป็นเงิน590บาท - กระเป๋าใส่เอกสาร 59 x110บาทเป็นเงิน 6,490 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 พฤษภาคม 2566 ถึง 12 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้และปฏิบัติป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ อสม.ติดตามเฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14573.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์การเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์การเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตั้งป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์การเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด หน้าสำนักงานเทศบาลหน้า รพ.สต.และ4 ชุมชน ป้ายไวนิล 2x3x150x 6 แผ่น เป็นเงิน5,400บาท ออกให้เสียงตามสายประชาสัมพันธ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดป้ายประชาสัมพันธ์ และผ่านเสี่ยงตามสาย มัสยิดและรถเคลื่อนที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมติดตามและสรุปโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามและสรุปโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปติดตามโครงการ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 12 x35 บาท เป็นเงิน 420บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปและติดตามโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,813.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและป้องกันตนเองได้
2.ลดอัตราภาวะคลอดก่อนกำหนดในพื้นท่ี


>