กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านสาธารณสุข ( อสม.น้อย ประจำหมู่ที่ 2 บ้านปากบารา )

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านสาธารณสุข ( อสม.น้อย ประจำหมู่ที่ 2 บ้านปากบารา )

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านปากบารา และคณะกรรมหมู่บ้านปากบารา

1. นายนิรันดร์ ชุมคง
2. นางนัชชา ง๊ะสมัน
3. นางฟาตีม่ะ นิมิตรถวิล
4. นายพิศาล สาออละ
5. นางสาวสุมัยย๊ะ กุกามา

บ้านปากบารา หมู่ที่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละอสม.น้อยมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ดีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน

 

40.00
2 ร้อยละอสม.น้อยสามารถปฏิบัติงาน และดําเนินกิจกรรมพัฒนารูปแบบงานสาธารณสุขมูลฐาน

 

50.00

การสร้างเสริมและป้องกันโรค สามารถดำเนินการทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจของโรคและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในชุมชนต่างๆของตำบล ซึ่งคำว่า อสม. นั้นย่อมาจาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน คือ บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้านในแต่ละกลุ่มบ้าน และได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่ กระทรวงสาธารณสุขกําหนดโดยมีบทบาทที่สําคัญในฐานะผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยการสื่อสารข่าวสาธารณสุขการแนะนําเผยแพร่ความรู้การวางแผนและประสานกิจกรรมพัฒนาสาธารณสุขตลอดจนให้บริการสาธารณสุขด้านต่าง ๆเช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง และการป้องกันโรคการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นตอนโดยใช้ยา และเวชภัณฑ์ตามขอบเขตที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นการฟื้นฟูสภาพและจัดเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่

บ้านปากบารา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีทั้งหมด 1,385 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งหมด 4,275 คน ซึ่งแบ่งเป็นชาย จำนวน 2,121 คน และหญิง จำนวน 2,154 คน (อ้างอิงจากทะเบียนราษฎร อำเภอละงู) โดยแบ่งเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 500 คน วัยทำงาน (อายุ 25-59 ปี) จำนวน 2,000 คน และวัยรุ่น (อายุ 13-24 ปี) จำนวน 1,000 คน นอกจากนั้นเป็นช่วงวัยเด็ก จำนวน 775 คน และส่วนใหญ่เป็นประชากรที่ย้ายมาจากภูมิลำเนาอื่น จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่ามีนักเรียน และเยาวชนบางกลุ่มสนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับด้านสาธารณสุข เพื่อที่จะนำความรู้ดังกล่าวไปปฏิบัติ และศึกษาต่อได้ในอนาคต

ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านปากบารา และคณะกรรมหมู่บ้านปากบารา จึงเห็นว่าการให้ความรู้กับเยาวชน/นักเรียนในโรงเรียน ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาสาธารณสุขทั้งในหมู่บ้าน/ชุมชน รวมทั้งโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้าน โครงการอบรมเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านสาธารณสุข ( อสม.น้อย ประจำหมู่ที่ 2 บ้านปากบารา ) จึงเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านสาธารณสุขของเยาวชนให้มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับเยาวชนในโรงเรียน ชุมชน และหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และเพื่อที่จะนำความรู้ดังกล่าวไปปฏิบัติ และศึกษาต่อได้ในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.น้อยมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ดีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน

อสม.น้อยมีความรู้ที่ดีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน

0.00
2 เพื่อให้อสม.น้อยสามารถปฏิบัติงาน และดําเนินกิจกรรมพัฒนารูปแบบงานสาธารณสุขมูลฐานอย่างประสิทธิภาพ

อสม.น้อยสามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/10/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งคณะทำงานของโครงการ 10 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดตั้งคณะทำงานของโครงการ 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายแกนนำคณะทำงาน 10 คน

  1. ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน (ผญ.บ้าน และ ผช.ผญ.)

  2. อสม. จำนวน 7 คน
    รายละเอียดกิจกรรม จัดตั้งคณะทำงานของโครงการ ประชุมคณะทำงาน 10 คน ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และสรุปผลการประชุม

  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน X 35 บาท X 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่จะทำ และสามารถแบ่งหน้าที่ในการทำงานได้อย่างชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน และอบรมฐานปฏิบัติการทางการพยาบาลเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน และอบรมฐานปฏิบัติการทางการพยาบาลเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย 1.ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน (ผญ., ผช.ผญ) 2.คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 7 คน 3.อสม. จำนวน 20 คน 4.เด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 30 คน รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ดีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน วิธีเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง และกิจกรรมอบรมฐานปฏิบัติการทางการพยาบาลเบื้องต้น - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม60คน X35บาท X 4มื้อ เป็นเงิน8,400บาท
- ค่าอาหารกลางวัน60คน X100บาท X2มื้อเป็นเงิน 12,000บาท
- ค่าวิทยากร2วัน X6ชั่วโมง X600บาท/ชั่วโมง เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าวัสดุและอุปกรณ์ผู้เข้าร่วมอบรม60 คน X100 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ800บาท
- ค่าเครื่องเสียง 2,000 บาท - ค่าสถานที่ 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 อสม.น้อยมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ดีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน

2 อสม.น้อยสามารถปฏิบัติงาน และดําเนินกิจกรรมพัฒนารูปแบบงานสาธารณสุขมูลฐานอย่างประสิทธิภาพ

4 เกิดการบูรณาการร่วมกันในการทำงานของหน่วยงาน กลุ่มองค์กร จิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน ในการดูแลสุขภาพของคนภายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37600.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายแกนนำคณะทำงาน 10 คน

  1. ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน (ผญ.บ้าน และ ผช.ผญ.)

  2. อสม. จำนวน 7 คนประชุมคณะทำงาน เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 คน X 100 บาท X 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

    • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน X 35 บาท X 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 350 บาท
  • ค่าเอกสารเข้าเล่มโครงการ 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร่วมกันติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ ว่ามีปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินการบ้างหรือไม่ และทำให้เกิดผลประโยชน์อะไรบ้าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 อสม.น้อยมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ดีต่องานสาธารณสุขมูลฐาน
2 อสม.น้อยสามารถปฏิบัติงาน และดําเนินกิจกรรมพัฒนารูปแบบงานสาธารณสุขมูลฐานอย่างประสิทธิภาพพร้อมทั้งดูแลตนเอง ครอบครัว และเยาวชนในชุมชน/หมู่บ้าน 3 กลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชน มีการพัฒนาศักยภาพในการจัดการทางสุขภาพ
4 เกิดการบูรณาการร่วมกันในการทำงานของหน่วยงาน กลุ่มองค์กร จิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน ในการดูแลสุขภาพของคนภายในชุมชน
5. นักเรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
6. นักเรียนมีความรู้พื้นฐานด้านสาธารณสุข และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต
7. นักเรียนมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ผู้บริการสังคม มีความเชื่อมั่นในตนเอง


>