กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.เทพา

เขตรับผิดชอบ อบต.เทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่ อบต.เทพา มีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า-2019

 

15.00
2 ร้อยละการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า-2019 ในพื้นที่ตำบลเทพา

 

10.00
3 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

20.00
4 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

70.00
5 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

 

50.00

ตามที่ ได้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และมีการระบาดไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆอาจทำให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้จังหวัดแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเฝ้าระวัง และดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงสมควรกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่
ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเทพาจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

70.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

20.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนเขตตำบลเทพา 10,182

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2021

กำหนดเสร็จ 15/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตั้งจุดคัดกรองในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตั้งจุดคัดกรองในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำคำสั่งคณะทำงานในการตั้งจุดคัดกรอง ประกอบด้วยผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น อปพร. อสม. เจ้าหน้าที่อบต. 2.จัดทำป้ายไวนิล 8 หมู่บ้านๆละ 1 ป้ายๆละ 300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 3.จัดทำแผนการคัดกรองประชาชน 4.ดำเนินการคัดกรองด้วยการเน้นเฝ้าระวังการสวมหน้ากากอนามัย,การวัดไข้,การสอบถามการเดินทาง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนปลอดภัยจากโรคไวรัสโคโรน่า-2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเชิงรุกลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเชิงรุกลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำแบบฟอร์มประเมินความเสี่ยงครัวเรือน เน้นการค้นหาประชาชนในพื้นที่ที่กลับจากจังหวัดควบคุมสูงสุด 2.ประชุมชี้แจงอสม.เกี่ยวกับรายละเอียดของการสำรวจกลุ่มเสี่ยง 3.ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเสี่ยงในเขตับผิดชอบของอสม.แต่ละคน     ค่าตอบแทนอสม.150 คนๆละ 200 บาทเป็นเงิน 30,000 บาท 4.รวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจ ในการแนะนำการกักตัว  Home quarantine ต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับการคัดกรองไวรัสโคโรน่า-2019เชิงรุก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่กักตัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่กักตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัว ใน Home quarantineและ local quarantine 2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเช่นหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ 3.ประสานหน่วยงานอำเภอ/PCU/โรงพยาบาล/อสม.ร่วมกับ อบต.ในการลงเยี่ยมให้กำลังใจพร้อมทั้งเน้นย้ำการปฏิบัติตามมาตรการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคโคโรน่า-2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า-2019

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า-2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เตรียมความพร้อมรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
2.ดำเนินการรณรงค์ในพื้นที่ทั้ง 8 หมู่บ้าน ไวนิลรณรงค์จุดศาสนสถาน 16 แห่งๆละ 1 ป้ายๆละ 300 บาทเป้นเงิน 4,800 บาท 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้ 3.1 ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ 120 ขวดๆละ 300 บาทเป็นเงิน 36,000 บาท 3.2 ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์จำนวน 2 เครื่องๆละ4,500 บาทเป็นเงิน 9,000 บาท3.3 ค่าเครื่องกดเจลล้างมือแบบเท้าเหยียบจำนวน 2 เครื่องๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท3.4 ค่าน้ำยาทำความสะอาดได้แก่ไฮเตอร์ น้ำยาเช็ดกระจกฯลฯเป็นเงิน 3,050 บาท 3.5 ค่าหน้ากากอนามัย 50 กล่องๆละ125 บาท เป็นเงิน 6,250 บาท 3.6 ถุงมือDispose 10กล่องๆละ150 บาทเป็นเงิน 1,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีอุปกรณ์ป้องกันโรคโคโรน่า-2019 2.ประชาชนปลอดภัยจากโรคไวรัสโคโรน่า-2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66600.00

กิจกรรมที่ 5 5.กิจกรรมตรวจแนะนำสถานประกอบการตามมาตรการเฝ้าระวัง

ชื่อกิจกรรม
5.กิจกรรมตรวจแนะนำสถานประกอบการตามมาตรการเฝ้าระวัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เตรียมเอกสารตามมาตรการเฝ้าระวัง 2.ออกให้คำแนะนำปฏิบัติตามมาตรการ ได้แก่ตลาด ร้านอาหาร ศพด.ร้านอินเตอร์เนต - จัดทำใบปลิวมาตรการเฝ้าระวังโรคโคโรน่า-2019งบประมาณ 1,000 บาท 3.ลงพื้นที่สำรวจการปฏิบัติตามมาตรการหลังจากออกให้คำแนะนำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้าปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังโรคโคโรน่า-2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า-2019 ในพื้นที่ได้


>