กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนปิยามุมัง ปรับเปลี่ยนตัวทัน ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง

ตำบลปิยามุมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

36.85
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

11.93

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น "ภัยเงียบ"เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการและเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่นตาไตหลอดเลือด หัวใจ และสมอง ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูงมากตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดให้ประชากรที่มีอายุ35ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ปี 2561-2563 อำเภอยะหริ่ง มีการคัดกรองเบาหวานในกลุ่มประชากรทั่วไปอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 96.20 , 96.18, และ 94.48 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 15.20 , 12.22 และ 16.44สำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจน้ำตาล HbA1c ร้อยละ 24.32 , 39.69 และ 44.83 ควบคุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 4.34 , 6.76 และ 2.71 (เกณฑ์ร้อยละ 40)ในส่วนของการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงประชากรในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป คัดกรองได้ร้อยละ 96.78 , 96.17 และ 95.15 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มลดลง คิดเป็นร้อยละ 28.38ร้อยละ 21.68ร้อยละ 6.65 กลุ่มสงสัยป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 4.85 , 3.68 และ 4.02ความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันฯ 2 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 40.78 , 66.46 และ 43.15 สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีร้อยละ 14.41, 41.18 และ 23.29 (เกณฑ์ร้อยละ 50)จากสถานการณ์ข้างต้น จึงเห็นได้ว่า แนวโน้มของประชากรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และสงสัยป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น รวมถึงการควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานก็ยังเป็นปัญหาหลักๆที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ บวกกับขนบธรรมเนียมประเพณี การรับประทานอาหารของประชาชนในอำเภอยะหริ่ง ซึ่งค่อนข้างเป็นชุมชนเมือง ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุวัยทำงาน มักซื้ออาหารนอกบ้านรับประทาน รวมถึงซื้อฝากผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลด้วยบวกกับพื้นที่ของอำเภอยะหริ่งติดทะเล การประกอบอาชีพก็เป็นชาวประมง และการทำอาหารแห้ง ซึ่งรสชาติอาหารเน้นหนักไปในเรื่องของความเค็ม
ดังนั้น ทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “คนปิยามุมัง ปรับเปลี่ยนตัวทัน ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2564” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ส่วนในรายที่สงสัยป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. จัดประชุมชี้แจงโครงการโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต.และ อสม. โดยแจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายพร้อมจัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. จัดประชุมชี้แจงโครงการโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต.และ อสม. โดยแจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายพร้อมจัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มแก่ผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ
           จำนวน 44 คน ×  25   บาท  ×  1  ครั้ง                             เป็นเงิน 1,100.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2. จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อให้ อสม.สามารถเป็นครูพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพแก่ประชาชนกลุ่มเสี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2. จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อให้ อสม.สามารถเป็นครูพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพแก่ประชาชนกลุ่มเสี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 15 คน × ๕๐ บาท × 1 มื้อ                เป็นเงิน    750.-  บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 15 คน × ๒๕ บาท × 2 มื้อ                     เป็นเงิน    750.-  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๘0 คน × ๕๐ บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน4,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน ๘0 คน × ๒๕ บาทเป็นเงิน2,000.-บาท
  • ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน 750.- บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม เอกสารประอบการอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจโครงการเป็นเงิน1,000.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมเป็นเงิน2,500.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหลังจากเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอวและประเมิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหลังจากเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอวและประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน ๘0 คน × ๒๕ บาท × 1 มื้อ × 3 วัน เป็นเงินุ6,000.-บาท
  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • สายวัดความยาวรอบเอว จำนวน ๘0 ชิ้น ×20 บาทเป็นเงิน1,600.-บาท
    • เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง × 1,800 บาท เป็นเงิน1,800.-บาท
  • แถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน3 กล่อง × 963 บาท เป็นเงิน2,889.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12289.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมข้อตกลงและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมข้อตกลงและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ ละ 25บาท/มื้อ เป็นเงิน 2,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,139.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมและยั่งยืนตามบริบทลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อทันที


>