กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนปิยามุมัง ปรับเปลี่ยนตัวทัน ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,139.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
36.85
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
11.93

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น "ภัยเงียบ"เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการและเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่นตาไตหลอดเลือด หัวใจ และสมอง ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูงมากตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดให้ประชากรที่มีอายุ35ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2561-2563 อำเภอยะหริ่ง มีการคัดกรองเบาหวานในกลุ่มประชากรทั่วไปอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 96.20 , 96.18, และ 94.48 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 15.20 , 12.22 และ 16.44สำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจน้ำตาล HbA1c ร้อยละ 24.32 , 39.69 และ 44.83 ควบคุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 4.34 , 6.76 และ 2.71 (เกณฑ์ร้อยละ 40)ในส่วนของการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงประชากรในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป คัดกรองได้ร้อยละ 96.78 , 96.17 และ 95.15 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มลดลง คิดเป็นร้อยละ 28.38ร้อยละ 21.68ร้อยละ 6.65 กลุ่มสงสัยป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 4.85 , 3.68 และ 4.02ความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันฯ 2 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 40.78 , 66.46 และ 43.15 สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีร้อยละ 14.41, 41.18 และ 23.29 (เกณฑ์ร้อยละ 50)จากสถานการณ์ข้างต้น จึงเห็นได้ว่า แนวโน้มของประชากรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และสงสัยป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น รวมถึงการควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานก็ยังเป็นปัญหาหลักๆที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ บวกกับขนบธรรมเนียมประเพณี การรับประทานอาหารของประชาชนในอำเภอยะหริ่ง ซึ่งค่อนข้างเป็นชุมชนเมือง ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุวัยทำงาน มักซื้ออาหารนอกบ้านรับประทาน รวมถึงซื้อฝากผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลด้วยบวกกับพื้นที่ของอำเภอยะหริ่งติดทะเล การประกอบอาชีพก็เป็นชาวประมง และการทำอาหารแห้ง ซึ่งรสชาติอาหารเน้นหนักไปในเรื่องของความเค็ม ดังนั้น ทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “คนปิยามุมัง ปรับเปลี่ยนตัวทัน ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2564” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ส่วนในรายที่สงสัยป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,139.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1. จัดประชุมชี้แจงโครงการโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต.และ อสม. โดยแจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายพร้อมจัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินการ 0 1,100.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2. จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อให้ อสม.สามารถเป็นครูพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพแก่ประชาชนกลุ่มเสี 0 1,500.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมข้อตกลงและถอดบทเรียน 0 2,000.00 -
11 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 3.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต. 0 11,850.00 -
11 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 4. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหลังจากเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอวและประเมิน 0 10,689.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมและยั่งยืนตามบริบทลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อทันที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2564 12:01 น.