กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตำมะลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตำมะลัง

ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.ตำมะลัง

1. นางน้อยหน้านิสาและ
2. นางสาวอารียาอาแว
3. นางสาวฟิตรีมะดีซู
4. นางสาวไลล๊ะเด็นหมาน
5. นางสาวสีฮายาร์เด็นหมาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์มารดาต้องมีความพร้อมและมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามแม้จะดูแลได้ด้วยตนเอง ภาครัฐก็ควรส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชน รู้จักการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษา โดยเฉพาะการตรวจการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งของมารดาและบุตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ ส่งเสริม การตรวจและการดูแลสุขภาพ ขณะตั้งครรภ์เพื่อให้มีการคลอดที่ปลอดภัยทั้งมารดาและบุตร

ในปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ตำบลตำมะลัง ยังมีประชาชนที่มีอคติและยังไม่มีความเข้าใจในผลดี ของการฝากครรภ์เร็ว ภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์การส่งเสริมความรู้เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยโดยในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 3 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๓ตำบลตำมะลัง ตำบลตำมะลัง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กประจำปีงบประมาณ 2564 มาเพื่อแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กประจำปีงบประมาณ 2564

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์
  1. หญิงตั้งครรภ์ มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่า 33 %
  2. หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 80
110.00
2 2. เพื่อสร้างกระแสและรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็กแก่ชุมชน

หญิงตั้งครรภ์ มีความเข้าใจในอนามัยแม่และเด็ก ร้อยละ 100

100.00
3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

ไม่มีภาวะเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 110
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอด ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอด ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 600 บาท x6 ชม. =3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 54 คน = 2,700บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 54 คน x 2 มื้อ = 2,700 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย= 600 บาท -แฟ้มพลาสติกจำนวน 50 คน x 25 บาท =1,250บาท -ปากกาจำนวน 50 แท่ง x 5 บาท =250 บาท
  • สมุดเล่มบางจำนวน 50 เล่มx 10 บาท = 500 บาท
    -ค่าแผ่นพับความรู้100 แผ่น x3 บาท =300 บาท -ค่าห้องประชุม จำนวน 1 วัน x 1,000บาท=1,000 บาท -ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ในชุมชน ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 3ป้าย=1,800 บาท รวมเป็นเงิน 14,700บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประเภทและทุกกลุ่มอายุ 2.  มีการขับเคลื่อนกิจกรรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการอบรมทุกปี เป็นผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และให้คำแนะนำ ให้ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ อย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอด ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอด ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 600 บาท x6 ชม. =3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 54 คน = 2,700บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 54 คน x 2 มื้อ = 2,700 บาท -แฟ้มพลาสติกจำนวน 50 คน x 25 บาท =1,250บาท -ปากกาจำนวน 50 แท่ง x 5 บาท=250 บาท
  • สมุดเล่มบางจำนวน 50 เล่มx 10 บาท=500 บาท

-ค่าห้องประชุม จำนวน 1 วัน x 1,000บาท=1,000บาท รวมเป็นเงิน 12,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประเภทและทุกกลุ่มอายุ 2.  มีการขับเคลื่อนกิจกรรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการอบรมทุกปี เป็นผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และให้คำแนะนำ ให้ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ อย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ได้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประเภทและทุกกลุ่มอายุ
2. มีการขับเคลื่อนกิจกรรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการอบรมทุกปี เป็นผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และให้คำแนะนำ ให้ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ อย่างต่อเนื่อง


>